กลิ่นปากที่มาจากโรคทางเดินอาหาร

กลิ่นปากที่มาจากโรคทางเดินอาหาร

“กลิ่นปาก” ไม่ควรมองข้ามเพราะนอกจากจะทำให้เสียบุคลิกภาพแล้ว อาจทำให้ผู้คนรอบข้างพาลไม่อยากเข้าใกล้ อาจเกิดจากสุขภาพช่องปาก หรือ ความผิดปกติในร่างกายสัญญาณบอกโรคบางอย่างได้ เพราะเราอาจจะไม่รู้ตัว ควรหมั่นเช็กสัญญาณกลิ่นปาก และสุ่มเสี่ยงโรค

สาเหตุของกลิ่นปาก

ระบบย่อยอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากมากกว่าที่คุณคิด ขั้นตอนแรกในการรับมือกับกลิ่นปาก หรือกลิ่นลมหายใจที่น่าจะมาจากกระเพาะอาหารคือ การระบุสาเหตุ หากคุณทราบว่าอาหารชนิดใดมีผลต่อคุณ กลิ่นปากอาจสัมพันธ์กับกรดในกระเพาะ หรือหากคุณสังเกตว่ากลิ่นปากคล้ายกลิ่นแอมโมเนีย อาจเป็นผลจากการติดเชื้อที่ไต หรือปัญหาสุขภาพเรื้อรังด้านอื่นๆ ข้อมูลต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของกลิ่นปากจากปัญหากระเพาะอาหาร

  • กรดไหลย้อนหรือ GERD – กลิ่นปากอาจเป็นอาการของกรดไหลย้อนหรือ GERD หากคุณเคยมีอาการแสบร้อนกลางอกหรือกรดไหลย้อน กลิ่นปากของคุณอาจเกี่ยวข้องกับกรดส่วนเกินที่สร้างขึ้นในระบบย่อยอาหาร กรดเหล่านี้จะมีกลิ่นเปรี้ยว ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีกลิ่นปากได้
  • ปัญหาไต วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล– ระบุว่ากลิ่นปากที่มีกลิ่นแอมโมเนียอย่างรุนแรงอาจเป็นอาการของปัญหาไตเรื้อรัง
  • แผลในกระเพาะ- พบความสัมพันธ์ระหว่างกลิ่นปากกับเชื้อแบคทีเรีย pylori แบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของแผลในกระเพาะอาหาร เช่นเดียวกับโรคกระเพาะ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อศึกษาว่าเชื้อ H. pylori ทำให้เกิดกลิ่นปากได้อย่างไร
  • โรคลำไส้อุดตัน- อาการแสดงอย่างหนึ่งของลำไส้อุดตันคือกลิ่นปาก เนื่องจากไม่มีสิ่งใดเคลื่อนผ่านลำไส้ลงไปได้ ทุกสิ่งทุกอย่างในระบบย่อยอาหารจึงหมักหมมและส่งกลิ่นเหม็นขึ้นมาทางช่องปาก

วิธีแก้ปัญหากลิ่นปากจากระบบทางเดินอาหาร

  • ตรวจสุขภาพช่องปาก 6 เดือนถึง 1 ปี : การตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำจะช่วยให้สามารถป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดจากแบคทีเรียและโรคแทรกซ้อนต่างๆ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ 8 แก้ว / วัน : เพื่อช่วยขจัดแบคทีเรียและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในช่องปาก
  • งดอาหารมื้อดึก และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  • รับประทาน ผัก ผลไม้ เป็นประจำทุกวัน
  • เลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ จะช่วยลดปัญหากลิ่นปากได้อย่างถาวร
  • ไม่เครียด หากิจกรรมผ่อนคลาย
  • พบแพทย์ หากมีอาการเรื้อรัง
  • ลองใช้โพรไบโอติกกลิ่นปากจะน้อยลงเมื่อระบบย่อยอาหารดีขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับการรับประทานโพรไบโอติกหรือโยเกิร์ตวันละถ้วยเพื่อสุขภาพของคุณ

โรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเหงื่อใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ต้องมีปัจจัยอื่นร่วมอีกหลายอย่าง แต่มีทางป้องกันได้ ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพตัวเอง ตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินสุขภาพ หากกังกลว่าจะมีความเสี่ยงเพิ่มควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

Relate Article