กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย และทั่วโลก จัดเป็นภัยเงียบอันตรายที่ใกล้ตัว เกิดได้อย่างกะทันหัน และผู้ป่วยก็มักจะไม่รู้ตัว โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่พบเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการอุดตันเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอันตรายรุนแรง ความผิดปกติของผนังหลอดเลือดแดงตีบแคบลง เนื่องจากมีไขมันสะสมในผนังด้านในของหลอดเลือด ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ทำให้ผู้ป่วยหมดสติกะทันหัน และเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ถ้ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นบริเวณกว้างส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะทำงาน เล่นกีฬา หรือขณะพักผ่อน สาเหตุเนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือบริเวณที่มีคราบไขมันเกิดการปริของผนังหลอดเลือดทำให้มีลิ่มเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดและก่อตัวเป็นลิ่มเลือดจนเกิดการอุดตันส่งผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการและสัญญาณเตือนของโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดร้าวไปกราม คอ สะบักหลัง แขนซ้าย เหนื่อย หายใจไม่ทัน บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรรอดูอาการที่บ้าน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง การรักษาล่าช้า ทำให้มีอัตราเสียชีวิตสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจล้มเหลวตามมา

สาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • พันธุกรรม  สำหรับบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อายุ ที่เพิ่มมากขึ้นจากสถิติพบในเพศชายอายุ ตั้งแต่  40  ปี และเพศหญิงตั้งแต่  45 ปีขึ้นไป
  • เพศ จากสถิติพบว่าเพศชายมีโอกาสและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง
  • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเล็กลง
  • โรคประจำตัวอื่นๆ  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เผาผลาญพลังงานน้อย และการสะสมของไขมัน

หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหัวใจต้องเจ็บหน้าอก แต่ปัจจุบันพบว่าไม่เจ็บหน้าอกก็เป็นโรคหัวใจได้ อาการเจ็บหัวใจข้างซ้ายร้าวไปกลาม หรือแขนซ้าย แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากจะสูญเสียประสาทด้านรับรู้ความรู้สึก ทำให้คนไข้อาจจะมาด้วยอาการเหนื่อยง่าย หรือขาบวมทั้งสองข้าง บางคนอาจจะมาด้วยอาการใจสั่น หน้ามืดจะเป็นลม หรืออาจจะมาด้วยอาการหมดสติโดยที่ไม่เคยเจ็บหัวใจมาก่อน

 ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือดอย่าคิดไปเองว่าไม่เป็นอะไร ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นหนักแล้วค่อยรักษาอาจจะสายเกินไป ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ดูแลรักษาได้ทัน ก่อนจะมีโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมา

การป้องกัน-ลดปัจจัยเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • ทานอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงหัวใจ เช่น ปลาทะเล ผักใบเขียว และผลไม้ อัลมอลด์ ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืชไม่ขัดสี อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
  • ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจให้ผ่องใส
  • หมั่นตรวจเช็กสุขภาพของตนเองเป็นประจำ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หลีกเลี่ยงอาหารหวาน และเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ

การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันก็มีส่วนทำให้เราห่างไกลโรคได้ การตรวจสุขภาพประจำปีก็เป็นส่วนสำคัญทำให้เรารู้ก่อนที่จะเกิดโรคต่างๆ และรักษาได้ทันท่วงที การการตัวช่วยเสริมเพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน หรือบำรุงร่างกายเติมในส่วนที่ร่างกายขาดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ขะช่วนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ หากมีข้อสงสัยปัญหาสุขภาพสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.thairath.co.th/news/society/2669911

https://health.kapook.com/view272492.html

https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/574066