จุลินทรีย์เกราะป้องกันโรคที่มองไม่เห็น
กว่า 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายอยู่ในลำไส้! เพราะลำไส้เป็นจุดที่ร่างกายต้องเผชิญกับเชื้อโรคจากอาหารและสิ่งแวดล้อมโดยตรง จุลินทรีย์ที่ดีจะช่วยปกป้องเราโดยทำหน้าที่เหมือนทหารเฝ้าประตู ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ถ้าสมดุลของจุลินทรีย์เสียไป อาจทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยง่าย ภาวะลำไส้อักเสบ หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง และเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ
จุลินทรีย์กับระบบเผาพลาญ
กินอาหารเหมือนกัน แต่ทำไมบางคนอ้วนง่าย บางคนผอมง่าย ? หนึ่งในคำตอบคือ จุลินทรีย์ในลำไส้มีผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย ช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงเบาหวาน กระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน ควบคุมฮอร์โมนความหิว-ความอิ่ม ถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล อาจทำให้ร่างกายสะสมไขมันง่ายขึ้น อาจเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ลำไส้กับสุขภาพจิตและอารมณ์
ลำไส้มีผลต่ออารมณ์และความเครียดของเราโดยตรง นั่นเป็นเพราะลำไส้เชื่อมโยงกับสมองผ่าน “แกนลำไส้-สมอง (Gut-Brain Axis)” และไมโครไบโอมในลำไส้สามารถผลิตสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข ถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล อาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย มีภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า มีปัญหาด้านความจำและการโฟกัส
ลำไส้กับการลดการอักเสบในร่างกาย
การอักเสบเรื้อรัง เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง ซึ่งไมโครไบโอมที่ดีสามารถช่วยลดการอักเสบได้ จุลินทรีย์ที่ดีช่วยลดการอักเสบได้โดยการผลิต กรดไขมันสายสั้น (SCFAs) ที่ช่วยลดการอักเสบ ลดการรั่วไหลของสารพิษจากลำไส้เข้าสู่ร่างกาย
พฤติกรรมที่ทำร้ายจุลินทรีย์ในลำไส้
- รับประทานอาหารแปรรูปและน้ำตาลสูง – ทำให้แบคทีเรียดีลดลง
- ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยเกินไป – ฆ่าทั้งแบคทีเรียดีและไม่ดี
- เครียดสะสม – ส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์
- นอนหลับไม่เพียงพอ – ทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้น้อยลง
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป – ทำให้ลำไส้อักเสบ