ดื่มกาแฟมากเกินไปอาจกระทบต่อร่างกาย

ดื่มกาแฟมากเกินไปอาจกระทบต่อร่างกาย

“กาแฟ” เป็นทางเลือกแรก ที่มนุษย์ออฟฟิศ กาแฟ หากดื่มให้เป็น ดื่มให้พอดี เรียกได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย คาเฟอีนมีทั้งประโยชน์และโทษ แต่หากเราบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป อันตรายถึงตายได้ง่าย ๆ
ดื่มกาแฟแค่ไหน ถึงไม่อันตราย

ผู้ใหญ่สามารถบริโภคคาเฟอีนได้ โดยควรรับในปริมาณที่เหมาะสมจากเครื่องดื่ม และอาหารต่าง ๆ แนะนำให้จำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับในแต่ละวัน ไม่เกิน 300 – 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับกาแฟ 3 – 4 แก้ว หากร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไป หรือเรียกว่าการบริโภคคาเฟอีนเกินขนาด (Caffeine Overdose) จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย

อันตรายจากการดื่มกาแฟมากเกินไป
  1. ระบบประสาทส่วนกลางจะทำให้มือสั่น นอนไม่หลับ เกิดความวิตกกังวล ปวดศรีษะ บางครั้งอาจทำให้ชักได้
  2. ระบบทางเดินอาหารจะเพิ่มการหลั่งของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้ปริมาณน้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ จึงควรหลีกเลี่ยงกาแฟทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  3. ระบบการไหลเวียนโลหิตคาเฟอีนกระตุ้นหัวใจ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต อาจเพิ่มความดันโลหิตชั่วคราว โดยเฉพาะในผู้ที่ปกติไม่บริโภคคาเฟอีน กลุ่มที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เดิม ภาวะความดันโลหิตสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ
  4. ระบบทางเดินปัสสาวะคาเฟอีนลดการดูดน้ำกลับ ตอนผ่านเข้าไปในไต ทำให้ไตขับน้ำออกมาเยอะขึ้น กระตุ้นให้เกิดการปัสสาวะบ่อยขึ้น แคลเซียมซึ่งเป็นสารก่อนิ่วชนิดหนึ่ง จะถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย อาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะไตวาย
ดื่มกาแฟอย่างไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ
  1. ควรเลือกดื่มเป็นกาแฟดำไม่ใส่นมและน้ำตาล เลือกสั่งแบบหวานน้อย หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” ที่ปรากฏบนซองหรือบรรจุภัณฑ์สินค้า
  2. หากต้องการจำกัดไขมันหรือน้ำตาล อาจเลือกเป็นสูตรแคลอรีต่ำ หรือสูตรไม่มีน้ำตาล จะช่วยให้สมองตื่นตัว รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
  3. เมื่อดื่มกาแฟเย็นแล้วควรลดอาหารหวาน มัน และของทอด ในมื้ออาหารหลักลง
  4. ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ อาจเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากสูญเสียแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จึงควรกินอาหารที่มีแคลเซียม จากแหล่งอื่นร่วมด้วย เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เป็นต้น
  5. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
  6. ดื่มน้ำเปล่าสะอาด 8-10 แก้วต่อวัน
  7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  8. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน

ทั้งนี้ ควรเลือกดื่มกาแฟในปริมาณที่จำเป็นต่อร่างกาย และเป็นกาแฟดำไม่ใส่นม และน้ำตาล เลือกสั่งแบบหวานน้อย จะช่วยให้สมองตื่นตัว รู้สึกกระปรี้กระเปร่า หรือเมื่อดื่มกาแฟเย็นแล้ว ควรลดอาหารหวาน มัน และของทอด ในมื้ออาหารหลักลง ซึ่งผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ อาจเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากสูญเสียแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จึงควรกินอาหารที่มีแคลเซียม จากแหล่งอื่นร่วมด้วย เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เป็นต้น และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำเปล่าสะอาด 8 – 10 แก้วต่อวัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน

นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่กาแฟเท่านั้นที่มีคาเฟอีน แต่อาหา รและเครื่องดื่มชนิดอื่นก็มีคาเฟอีนด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ และบริโภคกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/health/528431

https://www.sanook.com/health/35737/