เมื่อย่างเข้าวัย 30 ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มเกิดความเสื่อมแล้ว ร่างกายจะเริ่มถดถอยลงเรื่อย ๆ แบบไม่หยุดพัก ดังนั้น เราควรใส่ใจเรื่องสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวัยที่กำลังก้าวเข้าสู่เลข 4 อย่างผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกิน การนอนหลับ สุขภาพจิต และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ “การตรวจสุขภาพ” เช็คสภาพร่างกายในส่วนต่าง ๆ ว่าต้องมีการระวัง หรือเสริมพฤติกรรมแบบใดเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อการดูแลสุขภาพที่ให้ประโยชน์กับเราได้มากที่สุด
ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในวัย 35+
ในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สามารถพบความผิดปกติได้มากขึ้นจากตอนอายุ 30 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากความเสื่อม พฤติกรรมการใช้ชีวิต และผลเสียต่าง ๆ ที่สะสมในร่างกาย โดยเฉพาะคนไทยที่มักมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อย่างอาหารทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด หรือการได้รับมลพิษเป็นระยะเวลานานก็สามารถส่งผลกระทบกับร่างกายได้เช่นกัน โดยความผิดปกติหลัก ๆ ที่พบได้บ่อย เช่น
- ภาวะไขมันพอกตับ เป็นภัยเงียบที่มักพบได้บ่อยในคนไทย แต่ไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจถึงความร้ายแรง เนื่องจากไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่แท้จริงแล้วเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง
- ค่ากรดยูริก (Uric Acid) ในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ (Gout) และการทำงานอย่างผิดปกติของไต
- โรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เป็นโรคเรื้อรังที่นำอาการแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา เช่น โรคไต หลอดเลือดหัวใจตีบ
- ระดับวิตามินดีไม่เพียงพอ เป็นวิตามินที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้จากการโดนแสงแดด แต่วิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะในวัยทำงาน มักไม่ได้รับแสงแดดที่มากเพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายขาดวิตามินดี กระดูก หัวใจ และภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง รวมถึงไม่ได้รับการพัฒนาสมองอย่างเต็มที่อีกด้วย
นอกจากภาวะที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น ๆ อีกมากที่สามารถพบได้บ่อยในวัย 35 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นภาวะที่ไม่แสดงอาการ และมักจะมาแสดงความผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อเริ่มเป็นในระยะที่รุนแรงแล้ว ดังนั้น การตรวจสุขภาพจึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการคัดกรองความผิดปกติเหล่านี้ก่อนที่จะเกิดเป็นโรคลุกลามยากเกินแก้ไข
การปรับพฤติกรรมให้มีสุขภาพดีในวัย 35+
- เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
- รับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสีย เช่น อาหารรสจัด อาหารแปรรูป
- งดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ออกกำลังกายตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง
- เสริมสารอาหารตามความเหมาะสมกับร่างกายตนเอง
หากมีความต้องการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอย่างเท่าทัน และปรับพฤติกรรมให้เสริมสร้างประโยชน์กับร่างกายได้อย่างแท้จริง ที่ V Precision Clinic มีโปรแกรมการตรวจสุขภาพพิเศษสำหรับผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะ ซึ่งจะประกอบไปด้วยการตรวจหาความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ระดับกรดยูริก วิเคราะห์ภาวะไขมันพอกตับ ค่าการอักเสบของตับ และอื่น ๆ กว่า 17 รายการ
การตรวจสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติก่อนการตรวจ เพื่อป้องกัน รักษาโรคอันไม่พึงประสงค์ตั้งแต่ในระยะแรก และการมีสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยืนยาว
Reference
นายสริน ไพรสิริยืนยง และนางสาวปวีณา วงศ์อัยรา. (ม.ป.ป.). ‘วิตามินดี’ สิ่งดีๆ ที่ขาดไม่ได้ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง. Nestle.
https://www.nestle.co.th/th/nhw/3e/eat/benefits-and-tips-to-get-vitd
Jurairat N. (2 ตุลาคม 2566). 6 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะ “ไขมันพอกตับ”. Sanook.