เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ตะคริวสัญญาณความผิดปกติ

ตะคริวสัญญาณความผิดปกติ

ตะคริว คือ อาการหดเกร็งที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็นก้อนแข็ง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง การเป็นตะคริวนี้อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ และอาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลายๆ มัด พร้อมกันก็ได้

“ตะคริว” เกิดขึ้นได้หลายช่วงเวลา แม้ในช่วงที่ไม่ควรเกิดขึ้น จนอาจนำอันตรายมาสู่เราได้ เช่น ตอนว่ายน้ำ ตอนวิ่ง ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน บางรายอาจมีอาการตะคริวที่ขาในขณะนอนหลับตอนกลางคืนจนสะดุ้งตื่น หรือที่เรียกว่าตะคริวกลางคืน ซึ่งมักเกิดกับกล้ามเนื้อขาและพบได้บ่อยในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ บางรายก็เกิดที่ หลัง หรือหน้าท้อง การเกิดตะคริวจะเป็นอยู่เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ทิ้งเวลาไว้ซักพักภายใน 2-15 นาที อาการจะดีขึ้น

ใครบ้างที่มักเป็นตะคริวบ่อย

  1. นักกีฬา
  2. ผู้สูงอายุ
  3. คนวัยทำงานทั่วไป
  4. ผู้หญิงตั้งครรภ์

สาเหตุของการเกิดตะคริว

ตะคริวเกิดจากสาเหตุมากมายหลายประการจนยากที่จะระมัดระวังได้ จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมการเกิดตะคริวได้ สาเหตุที่ว่านั้น อาจเกิดจาก

  • เอ็น และกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อยๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย
  • เซลล์ประสาท และเส้นประสาทที่ควบคุมการหด และคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติในขณะนอนหลับ
  • เกิดได้จากโรคบางโรค เช่น โรคตับ หรือโรคไต
  • เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น
  • การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
  • เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียม และโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
  • ตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ
  • บาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทกระหว่างเล่นกีฬา
  • ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานหนักมากเกินไประหว่างการทำกิจกรรมออกแรง
  • เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ จากการออกกำลังกายหนักหรือวอร์มอัพไม่พ่อ
  • การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนานๆ ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก
  • ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตันๆ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

ตะคริวเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีอายุเท่าไหร่ ดังนั้น หากเรารู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธี ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ หมั่นดูแลร่างกาย รับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ มีแคลเซียมสูง ดื่มน้ำเยอะๆ พร้อมเคลื่อนไหวอย่างมีสติ เพียงแค่นี้อาการตะคริวก็น่าจะทุเลาลง

การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่าย และทุกคนสามารถทำได้ นอกจากนี้การตรวจสุขภาพก็จะเป็นสิ่งบ่งบอกว่า สิ่งที่คุณได้ทำไปนั้นแสดงผลด้วยการตรวจสุขภาพ หรือการตรวจเช็กร่างกายเป็นสิ่งที่จะประเมินว่าร่างกายคุณขาด หรือต้องเพิ่มเติมในส่วนไหน การหาตัวช่วยเสริมก้เป็นทางเลือกที่ช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง มีภูมิต้านทานขึ้นได้ หากมีข้อสงสัยปัญหาสุขภาพสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.sanook.com/health/30045/