ติดเค็มเสี่ยงหัวใจพัง

ติดเค็มเสี่ยงหัวใจพัง

“โซเดียม” มากกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน มีผลทำให้หัวใจ และไตทำงานหนัก เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และไตเสื่อม การจำกัด และควบคุมปริมาณเกลือโซเดียม สามารถช่วยควบคุม และป้องกันความดันโลหิตสูง รวมทั้งป้องกันการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว ลดภาวะบวมน้ำในผู้ป่วย “โรคหัวใจ” และโรคไตได้  กินเค็มมาก ต่อเนื่องเป็นประจำ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงาน หนักขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหลอดเลือดในสมองแตก หรืออัมพาตได้

อันตรายจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป

คนไทยส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการเติมเกลือ น้ำปลาหรือซอสปรุงรสในอาหารต่างๆ หรือใส่ลงบนอาหารโดยตรง เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ทำให้คนไทยเสี่ยงได้รับปริมาณโซเดียมเกินกว่าความต้องการในแต่ละวัน จึงต้องขับโซเดียมส่วนที่เกินออกจากร่างกาย ทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น และเสื่อมเร็วขึ้น 

“โซเดียม” เป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ 400 มิลลิกรัม โดยร่างกายมีความต้องการโซเดียมประมาณ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน เกลือโซเดียม หรือเกลือแกง เป็นตัวหลักของสารที่ให้ความเค็มในเครื่องปรุงรสที่นิยมใช้ คือ น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ เต้าเจี้ยว ฯลฯ และยังใช้ในการถนอมอาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาร้า ปลาเค็ม เนื้อเค็ม เป็นต้น

นอกจากนี้ การได้รับโซเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความดันโลหิต เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค ซึ่งเกลือโซเดียมยังแฝงมากับอาหารอื่นๆ เช่น ขนมอบกรอบ ผงชูรส หากรับประทานอาหารที่เค็มจัดที่มีเกลือโซเดียม หรือเกลือแกง มากกว่า 6 กรัมต่อวัน หรือมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ในระยะยาวมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และไตเสื่อม และหากกินแต่เกลือรวดเดียว อาจส่งผลให้ไตพิการ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีลดกินเค็มแบบง่ายๆ

  • อ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้งเลือกใช้เกลือเสริมไอโอดีน
  • นำเครื่องปรุงรสออกจากโต๊ะอาหาร
  • ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง
  • ฝึกนิสัยไม่ให้กินเค็ม ลดการกินเครื่องจิ้มต่างๆ
  • ใช้เครื่องเทศสมุนไพรแทนเครื่องปรุง
  • เลี่ยงกินอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก ปลาเค็ม ผักกาดดอง เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป

.

การลดการกินเค็มที่ดี คือการปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม เน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่กินอาหารรสจัดหรือรสเค็มมากเกินไป เพราะการกินเค็มจะส่งผลต่อการทำงานของไตโดยตรง ทั้งนี้ควรตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองความผิดปกติของร่างกาย หากพบความเสี่ยงหรือรอยโรคใดๆ แพทย์จะได้แนะนำเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค หรือรีบทำการรักษาอย่างตรงจุดต่อไป

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ และทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียด ก็มีส่วนช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกายได้อีกทาง ซึ่งส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงจากภายในสู่ภายนอกอย่างแท้จริง V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.thaipbs.or.th/news/content/287993

https://www.sanook.com/health/27837/

Relate Article

กรดไหลย้อน คืออะไร ?

โรคกรดไหลย้อน ค …

ผมขาวก่อนวัย

สาเหตุที่ทำให้เ …

ดูแลไตให้สุขภาพดี

เป็นอวัยวะที่มี …

NK Cell บำบัดโรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง ปัญหา …