ต่อมหมวกไตมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตไป ก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และโปรตีน รักษาระดับสารน้ำในร่างกาย และช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดต่อเหตุการณ์ต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและยามฉุกเฉิน
ต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านบนไตทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด ซึ่ง 1 ในฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดคือ “คอร์ติซอล” หรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนเครียด” เพื่อให้ร่างกายสามารถรับมือกับสภาวะความเครียดต่างๆที่เกิดขึ้นได้นอกจากอาการเครียดเป็นประจำ ที่อาจมีสาเหตุมาจากต่อมหมวกไตทำงานลดลง จนเกิดภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ซึ่งส่งสัญญาณว่า ต่อมหมวกไตของเรากำลังจะแย่ ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
อาการสัญญาณต่อมหมวกไตล้า
- รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
- ประจำเดือนผิดปกติ
- ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา
- อยากกินอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด
- เจ็บป่วยบ่อย เพราะภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ
- มีปัญหาความดันโลหิต
- มีเรี่ยวแรงในตอนเย็น
- นอนไม่ค่อยหลับ
- รับมือกับความเครียดได้ไม่ดีนัก
- จิตใจสับสนและขาดสมาธิ
- เจ็บปวดเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
การทำงานของต่อมหมวกไต จะหลั่งอะดรีนาลินนั้นส่งผลแก่ร่างกายทั้งในเชิงบวกและลบ และที่สำคัญฮอร์โมนนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเครียด วิตกกังวล โดยการที่ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาในปริมาณมากเมื่อเกิดความเครียด มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูงขึ้น ซึ่งถ้าหากว่าร่างกายเกิดภาวะเช่นนี้ต่อเนื่องกันบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การเป็นโรคความดันเลือดสูงก็ได้
ใครที่รู้ตัวว่าเป็นคนที่มีความเครียด และวิตกกังวลบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียไม่รู้ตัว ควรหาวิธีผ่อนคลายจากความเครียด ควรใช้ฮอร์โมนอะดรีนาลินให้อยู่ในภาวะสมดุลกับร่างกาย หากคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ควรมองข้ามหากมีความเสี่ยง อาจส่งผลต่อร่างกาย ระบบอื่น ๆ ได้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และให้แพทย์การวินิจฉัยอาการ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของคุณให้ห่างไกลจากโรค นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic
Reference
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย เบญญา)
https://mgronline.com/dhamma/detail/9590000034427
J.D.Ratcliff สรีรวิทยาสำหรับประชาชน (Your body and how it works). มงคล เดชนครินทร์, แปล. กรุงเทพฯ
https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter4/where_suprarenal.htm