ปวดท้องน้อย อย่าปล่อยให้เรื้อรัง

ปวดท้องน้อย อย่าปล่อยให้เรื้อรัง

“ปวดท้องน้อย” แล้ว หลายคนอาจจะนึกว่าต้องเป็นอาการที่เกิดขึ้นในผู้หญิงเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริง อาการปวดท้องน้อยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและในผู้หญิง ถึงแม้ในผู้หญิงจะมีโอกาสพบได้มากกว่าผู้ชายตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปี (เริ่มมีประจำเดือน) ไปจนถึงอายุประมาณ 50 ปี (วัยหมดประจำเดือน)

ตำแหน่งของท้องน้อยที่เราปวดจะมีความสัมพันธ์กับโรค เช่น ถ้าเราปวดท้องน้อยด้านซ้ายร่วมกับอาการท้องเสีย หรือท้องผูกเรื้อรังเราอาจจะเป็นโรคลำไส้แปรปรวน แต่ถ้าปวดท้องน้อยด้านขวา เราอาจจะเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ แต่ถ้าปวดตรงกลางท้องน้อย เราอาจจะเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็ได้

ท้องน้อยอยู่ตรงไหน

          ท้องน้อยอยู่ตรงบริเวณส่วนท้องตอนล่าง (บริเวณใต้สะดือ) เป็นที่อยู่ของอวัยวะสำคัญ ๆ อย่างลำไส้เล็ก (small intestine), ลำไส้ใหญ่ (large intestine), มดลูก (uterus), รังไข่ (ovaries), ช่องคลอด (vagina), กระเพาะปัสสาวะ (bladder), ท่อปัสสาวะ (urethra) ในผู้ชายยังมีองคชาต (penis), ต่อมลูกหมาก (prostate gland), หลอดนำอสุจิ (vas deferens) และอัณฑะ (testicle) และด้วยสรีระของผู้หญิงที่ซับซ้อนกว่าผู้ชายนี่เองที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสปวดท้องน้อยมากกว่าผู้ชาย

ปวดท้องน้อย มีอาการอย่างไร

อาการปวดท้องน้อยนั้นไม่มีระบุลักษณะการปวดที่แน่นอน ตายตัว โดยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น อาทิ ปวดเจ็บ ปวดหน่วง หรือปวดบิดเป็นพักๆ ที่บริเวณท้องน้อย (ระดับใต้สะดือลงมาที่บริเวณหัวหน่าว) บางครั้งก็อาจปวดร้าวไปตามอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นที่ก้นกบกับต้นขา ซึ่งอาจปวดเป็นพักๆ หรือปวดอยู่ตลอดเวลา ส่วนอาการปวดในเพศหญิงนั้นก็อาจเกี่ยวข้องกับระยะของประจำเดือน การปัสสาวะ การถ่ายอุจจาระหลังจากการรับประทานอาหาร การนอน หรือการยืนระหว่าง หรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้ อาการปวดดังกล่าวที่เกิดขึ้นก็อาจไปรบกวนการเคลื่อนไหวของร่างกาย การนอน การมีเพศสัมพันธ์ หรือการทำงาน จนบางครั้งก็ทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถที่จะทำภารกิจต่างๆ ได้ตามปกติ บางรายหนักถึงขนาดว่าต้องลาออกจากงาน เพราะเมื่อมีอาการปวดก็ไม่สามารถบรรเทาด้วยการทานยาแก้ปวดตามปกติ  บางครั้งเมื่ออาการปวดก็เกิดขึ้นหนักเกินกว่าที่จะทนได้ รวมถึงเกิดขึ้นเป็นเวลานานๆ ก็ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด หรือเกิดความผิดปกติทางจิตตามมา อาทิ มีอาการซึมเศร้า หรือมีอารมณ์แปรปรวน

ปวดท้องน้อยแบบไหน จำไว้ ก่อนไปหาหมอ อาการปวดท้องน้อยนั้นมีหลายสาเหตุ หลากอาการเหลือเกิน ฉะนั้นก่อนไปพบคุณหมอก็ลองสังเกตอาการตัวเองดูก่อนว่า เรามีอาการปวดท้องน้อยแบบไหน จะได้อธิบายอาการปวดเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตอยู่เสมอ ร่างกายเรามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะได้รักษาโรคอย่างแม่นยำ และตรงจุด การดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆก็เป็นสิ่งที่ควรไม่มองข้าม ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การหาตัวช่วยเสริมอื่นๆ ก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่จะเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง หากมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาเรื่องสุขภาพ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://health.kapook.com/view166776.html

https://www.sanook.com/health/8189/