เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ปวดหลัง…หายได้ ถ้ารักษาตรงจุด

ปวดหลัง…หายได้ ถ้ารักษาตรงจุด

ปวดหลังเป็นอาการปวดเมื่อย ตึง ร้าว หรือเจ็บที่หลัง อาจเกิดจากการที่กระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานๆ เช่นการนั่งทำงาน หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่จัดวางไม่เหมาะสมกับ สัดส่วน สรีระ ของผู้ใช้งาน หรือบางรายอาจมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง เช่น มีการยกของหนัก หรือ บิดคอ บิดหลัง  หากคุณมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ หรือเป็นประจำ ควรรีบพบแพทย์จะดีกว่า เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายโรคปวดหลังเรื้อรัง หรือรุนแรงจนรักษาได้ยาก

ปวดหลังตรงไหน เป็นโรคอะไร?

- ปวดตามแนวกระดูกสันหลัง

หากมีอาการปวดกลางหลัง โดยอาจไล่ตั้งแต่บนลงล่าง แต่เป็นบริเวณกลางหลังพอดิบพอดี สันนิษฐานได้ว่าเกิดอาการผิดปกติขึ้นกับกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก หรือเอ็นยึดระหว่างกระดูกสันหลัง เกิดจากการก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก หรือมีอาชีพที่ต้องถือของหนักๆ อยู่นานๆ เช่น ช่างภาพ คนงานก่อสร้าง ผู้ใช้แรงงานที่ต้องถือของ-ส่งของหนักๆ ไปตามที่ต่างๆ เป็นต้น หรืออาจเป็นพนักงานที่ต้องนั่งทำงานอยู่ในท่านั่งเดิมเป็นเวลานาน แล้วไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ

- ปวดหลังช่วงบน ใกล้ไหล่ ลำคอ ท้ายทอย

ปกติแล้วหากใครมีอาการปวดในบริเวณนี้ มักเกิดจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือในสถานที่ๆ ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะทำงาน และเก้าอี้ทำงานไม่สัมพันธ์กับสรีระร่างกาย จึงทำให้การจัดระเบียบร่างกาย ท่านั่งในการทำงานผิดปกติ เช่น อยู่ในท่ายกไหล่อยู่ตลอดเวลา จึงส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณตั้งแต่หัวไหล่ กล้ามเนื้อช่วงหลังตอนบน ไปจนถึงไหล่ใกล้ต้นคอได้ 

- กล้ามเนื้อหลังช่วงกลาง ด้านซ้าย-ขวา

ส่วนนี้เป็นกล้ามเนื้อหลัง ที่อยู่ถัดไปทางด้านซ้าย หรือขวาจากช่วงกระดูกสันหลัง อาจมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา การขยับร่างกายผิดท่าในจังหวะอันรวดเร็วจนเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ หากมีสาเหตุจากปัจจัยเหล่านี้ อาการปวดจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อพักการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นสักระยะ

- ปวดหลังช่วงล่าง

หลังช่วงล่างเป็นบริเวณหลังที่อยู่ตั้งแต่ช่วงระดับสะดือลงไป อาจจะยาวไปจนถึงสะโพก หรือต้นขา มีทั้งการปวดๆ หายๆ เป็นพักๆ หรือปวดอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุอาการปวดหลายประการ ตั้งแต่อายุที่สูงขึ้น (30 ปีขึ้นไป) น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง นั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน ทำงานชีพที่ต้องยกของหนัก หรือเล่นกีฬาที่ใช้หลังมาก เช่น มวยปล้ำ โรคกระดูกพรุน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องรับน้ำหนักของบุตรรในครรภ์หลายเดือน

- ปวดหลังบริเวณเอว

บริเวณที่ปวดจะอยู่บริเวณเอว ที่ค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย มีสาเหตุคล้ายกับอาการปวดหลังบริเวณอื่นๆ ตั้งแต่การใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นหนักจากการยกของหนักเป็นเวลานาน การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากๆ เช่น กอล์ฟ อุบติเหตุเล็กๆ น้อยๆ การตั้งครรภ์ รวมไปถึงสภาพจิตใจซึมเศร้าที่ส่งผลถึงต่อความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่ขาดการยืดหยุ่น

หากไม่สามารถหาสาเหตุของอาการปวดหลังได้ และยังมีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยละเอียด เพื่อสาเหตุที่แท้จริง และแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุจะดีที่สุด เพราะถึงทานยาคลายกล้ามเนื้อ ทายาแก้ปวดภายนอกหมดไปมากเท่าไร อาการอาจไม่ดีขึ้นหากเราไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.sanook.com/health/8317/