เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ปวดหัวบอกโรคได้

ปวดหัวบอกโรคได้

อาการ “ปวดหัว” เป็นประจำ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เพราะจากความเครียด กังวล ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อากาศก็เปลี่ยนแปลงบ่อย อาการปวดหัว และโรคที่เกิดจากการปวดหัวในแต่ละครั้ง ว่ามีสาเหตุจากอะไรกันแน่ ตำแหน่งของอาการปวดหัวนั้นบอกสาเหตุของโรคเบื้องต้นได้ ลองสังเกตกันดู จะได้รักษาอย่างตรงจุด
1. ปวดหัวรอบศีรษะ-โรคเครียด

อาการ “ปวดหัว” รอบศีรษะ เป็นอาการปวดหัวที่พบบ่อยมากที่สุด โดยอาการปวดหัวแบบนี้อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อรอบศีรษะเกิดอาการเกร็ง โดยจะเกิดที่ตำแหน่งบริเวณหน้าผาก และขมับทั้ง 2 ข้าง สำหรับบางคนในบางครั้งอาจรู้สึกร้าวมาถึงด้านหลังของศีรษะ และบริเวณต้นคอ รวมถึงบ่า และไหล่ด้วย ซึ่งทั้งหมดเกิดจากความเครียด หรือเป็น “โรคเครียด” เพราะเมื่อเวลาที่เรารู้สึกเครียดร่างกายจะหลั่งสารเคมีบางอย่าง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณ ขมับ ศีรษะ บ่า ไหล่ มีการหดตัว และทำให้ปวดศีรษะได้

2. ขมับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ – โรคไมเกรน

อาการปวดหัวบริเวณขมับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งบางรายอาจจะมีการปวดสลับข้างกัน อาการปวดที่ตำแหน่งนี้จะมีอาการปวดร้าวที่กระบอกตา มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ และมีอาการปวดเมื่ออยู่ในที่แสงจ้า กลิ่นฉุน หรือเสียงดัง ซึ่งอาการปวดหัวที่บริเวณดังกล่าวเกิดจากการเป็นโรคไมเกรน

3. ปวดหัว ณ จุดกลางใบหน้า-ไซนัสอักเสบ

อาการ “ปวดหัว” ที่บริเวณจุด “ไซนัส” โดยจะรู้สึกปวดบ่อยๆ ตั้งแต่บริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้างลงมา จนถึงบริเวณหน้าผากด้วย รวมถึงปวดบริเวณดั้งจมูก ตรงระหว่างคิ้ว และหัวตา พร้อมทั้งมีอาการหายใจติดๆ ขัด ปวดฟัน ไอ เจ็บคอ มีไข้ และอ่อนเพลีย มีน้ำมูกสีเขียวหรือเหลือง เนื่องจาก “ไซนัสอักเสบ” โดยมีสาเหตุจากการที่เยื่อบุไซนัสติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย จนทำให้เกิดอาการบวมของเนื้อเยื่อ คัดจมูก น้ำมูกไหล

4. หน้าใบหู – กระดูกกรามหน้าใบหูอักเสบ

อาการปวดหัวที่บริเวณหน้าใบหู มีความสัมพันธ์กับการเคี้ยวอาหารร่วมด้วย ซึ่งคนไข้บางรายอาจไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีพฤติกรรมการกัดฟันตอนกลางคืน เมื่อตื่นมาในตอนเช้าจะรู้สึกปวดที่บริเวณหน้าใบหูทุกครั้งที่ปากขยับหรือกำลังเคี้ยวอาหาร ซึ่งอาการปวดหัวในตำแหน่งนี้มีความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกกรามหน้าใบหูอักเสบ

5. ปวดหัวรุนแรง-โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอกสมอง

การ “ปวดหัว” ลักษณะนี้ จะมีอาการปวดที่มีลักษณะรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดบริเวณดวงตา ซึ่งอาจเกิดต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง และมีการมองเห็นที่ผิดปกติ มองเห็นไม่ชัด เกิดภาพซ้อน กล้ามเนื้อชา หรืออ่อนแรง ชัก มีไข้ คอแข็ง น้ำหมูกไหล ตาแดง เวียนหัว สาเหตุเกิดจากการทำงานผิดปกติของสมองส่วนไฮโบทาลามัส ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนการนอนหลัง รวมถึงอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้เส้นเลือดบริเวณใบหน้าขยายใหญ่ จนทำให้เกิดทับเส้นประสาทบนใบหน้า ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิด “โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอกสมอง” หรือเยื่อหุ้มสมองอาจเกิดการอักเสบได้

หลายคนอาจมองข้ามอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นที่บริเวณต่างๆ เพียงเพราะคิดว่าอาจเป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากการเป็นโรคเครียด หรือเป็นไมเกรนจากการทำงานหนัก แต่ในความเป็นจริงนั้นอาการปวดหัวในแต่ละตำแหน่งบอกถึงการเป็นโรคที่แตกต่างกัน จึงควรหมั่นสังเกตอาการให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดผลเสียจากการเป็นโรคร้ายแรงโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ดี อย่าชะล่าใจกับอาการปวดหัวเพียงเล็กน้อย หากอาการปวดหัวเป็นหนึ่งในอาการ หรือสัญญาณของโรคใดโรคหนึ่งก็ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์โดยตรงเพื่อรักษาโรคที่เป็นอยู่ รวมทั้งเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

การหมั่นสังเกตอยู่เสมอ ร่างกายเรามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะได้รักษาโรคอย่างแม่นยำ และตรงจุด การดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรไม่มองข้าม ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การหาตัวช่วยเสริมอื่นๆ ที่จะช่วยลดอาการปวดหัวก็เป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง หากมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาเรื่องสุขภาพ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/1774361

https://www.sanook.com/women/178029/