เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ปวดหัวบ่อยกินยาพาราไม่หายเสี่ยงโรคร้าย

ปวดหัวบ่อยกินยาพาราไม่หายเสี่ยงโรคร้าย

เราทุกคนอาจเคยปวดศีรษะ ซึ่งเวลาปวดศีรษะเราก็จะกินยาแก้ปวดที่มีติดไว้ประจำบ้าน เมื่อปวดหัวก้จำต้องกินพาราเซตามอล ยาแก้ปวดที่เรารับประทาน “มากเกินไป” ไม่ว่าจะเป็นพาราเซตามอลที่มีผลต่อตับ ยากลุ่ม NSAID (เช่น ibuprofen, naproxen ฯลฯ) ก็เป็นพิษต่อไต การใช้ยาถ้าใช้มากเกินไป หรือถี่เกินไปยังกลับทำให้อาการปวดศีรษะมากขึ้นกว่าเดิม อาการปวดศีรษะแบบนี้เรียกได้ว่า “โรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินความจำเป็น (Medication overuse headache)” หรือ “MOH”

โรค MOH คืออะไร และใครที่มีโอกาสเป็นโรค MOH บ้าง?

โรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินความจำเป็น (MOH) มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคปวดศีรษะเป็นประจำอยู่เดิม (เช่น โรคไมเกรน) และรับประทานยาแก้ปวดมากเกินไปจนทำให้อาการปวดศีรษะที่มีความถี่มากขึ้น หรือมีลักษณะอาการปวดศีรษะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สำหรับคำว่า “มากเกินไป” หรือ “มากเกินความจำเป็น” นั้น พบว่าหากเป็นยากลุ่มพาราเซตามอล หรือยากลุ่ม NSAID มักหมายถึงการใช้ยาตั้งแต่ 15 วันต่อเดือนขึ้นไป แต่หากเป็นยาแก้ปวดกลุ่มอนุพันธุ์ของฝิ่น (opioid), ยากลุ่ม ergot หรือยากลุ่ม triptan จะหมายถึงการใช้ยาตั้งแต่ 10 วันต่อเดือนขึ้นไป นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะสังเกตอาการเพิ่มเติมได้ง่ายๆ ว่ามีความเสี่ยงจะเกิดโรค MOH โดยผู้ป่วยอาจรับประทานยาแก้ปวดแล้วออกฤทธิ์สั้นลง หรือรับประทานแล้วไม่หายปวดศีรษะ

ทำไมยาแก้ปวดถึงทำให้ปวดศีรษะมากกว่าเดิมได้?

สำหรับกลไกการเกิดโรค MOH นั้น โดยสรุปแล้วเชื่อว่าเกิดจากการที่ใช้ยาแก้ปวดจำนวนมากเป็นระยะเวลาพอสมควร จะทำให้สมองกลับมีการสร้างตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่อระดับยาแก้ปวดลดลงจะทำให้สมองเกิดความไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้นโดยอัตโนมัติแม้ไม่ได้มีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ

โดยโรคนี้ มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคปวดศีรษะเป็นประจำ อย่าง โรคไมเกรน แล้วรับประทานยาแก้ปวดมากเกินไป จนสมองมีการสร้างตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้น และเมื่อระดับยาแก้ปวดลดลงจะทำให้สมองเกิดความไวต่อความเจ็บปวด ทำให้อาการปวดศีรษะมีความถี่มากขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  

โดยสามารถสังเกตอาการว่ามีความเสี่ยงจะเกิดโรค MOH หรือไม่ ได้ดังนี้

– รับประทานยาแก้ปวดแล้ว ยาออกฤทธิ์สั้นลง 

– รับประทานยาแล้วไม่หายปวดศีรษะ 

อย่างไรก็ตาม การรักษา MOH มีหลักการง่ายๆ คือ หยุดยาแก้ปวดที่ทำให้เกิด MOH รวมถึงไปพบแพทย์ เพื่อรักษาโรคปวดศีรษะเดิมให้ถูกต้อง แต่การหยุดยาแก้ปวดนั้น มักทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานจากอาการปวดอยู่ช่วงหนึ่ง

ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย หากมีปัญหาสุขภาพควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://mgronline.com/uptodate/detail/9660000070352

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/2686243