1. การบริโภคแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์เป็นศัตรูอันดับหนึ่งของตับ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ตับต้องเร่งล้างพิษแอลกอฮอล์ออก ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำจะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับ ตับอักเสบเรื้อรัง หรือแม้แต่ตับแข็ง
2. การใช้ยาบางชนิดในระยะยาว
ยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะ หรือสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจสร้างภาระให้ตับหากใช้ในปริมาณมากหรือใช้ต่อเนื่องโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ทำให้ตับทำงานหนักและอาจเกิดภาวะตับอักเสบจากยาได้
3. อาหารไขมันสูง และน้ำตาลแฝง
การรับประทานอาหารประเภทของทอด ไขมันทรานส์ ขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเป็นประจำ ทำให้ตับเก็บสะสมไขมันมากเกินไป นำไปสู่ภาวะ ไขมันพอกตับที่ไม่เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อเบาหวานและโรคหัวใจ
4. มลภาวะและสารเคมีในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวัน เราต้องสัมผัสสารเคมีต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่ ควันรถ สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือยาฆ่าแมลง ซึ่งล้วนต้องผ่านการล้างพิษโดยตับ หากได้รับสะสมในปริมาณมากจะเป็นภาระต่อการทำงานของตับ
5. ความเครียดเรื้อรังและการนอนหลับไม่เพียงพอ
ความเครียดเรื้อรังมีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งอาจกระทบต่อการทำงานของตับ และลดประสิทธิภาพในการล้างสารพิษ รวมถึงหากพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ตับควรทำงาน (22.00 – 02.00 น.) ตับก็จะไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้เต็มที่
แม้ ตับจะเป็นอวัยวะที่แข็งแรง และทำงานหนักโดยไม่มีเสียงบ่น แต่ก็ไม่อาจทนต่อพฤติกรรมทำร้ายแบบสะสมได้ตลอดไป การเข้าใจว่าพฤติกรรมใดคือ “ตัวการทำร้ายตับ” คือจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพอย่างแท้จริง เพราะเมื่อตับทำงานดี ระบบเผาผลาญ ฮอร์โมน และภูมิคุ้มกันของเราก็จะดีตามไปด้วย