เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ เลี่ยงได้ยิ่งดี

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ เลี่ยงได้ยิ่งดี

โรคหัวใจ และหลอดเลือด (cardiovascular diseases) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก และจากสถิติในประเทศไทยพบว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดเฉลี่ยกว่า 8 คนต่อหนึ่งชั่วโมง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่หลายคนละเลยเรื่องการดูแลตัวเอง และการมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ อัตราผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) รวมถึงโรคหัวใจจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ

พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ?

  • การรับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ไขมันทรานส์ น้ำตาล และโซเดียมสูง
  • การมีน้ำหนักตัวสูงเกินเกณฑ์ หรือมีโรคอ้วน
  • การมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  • การป่วยด้วยภาวะซึมเศร้า
  • การเผชิญกับความเครียด หรือไม่สามารถจัดการความเครียดได้
  • ขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ

 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่

  • อายุที่เพิ่มสูงขึ้น
  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด หรือโรคในกลุ่ม NCDs เริ่มมีอายุที่น้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น หากสามารถรักษาร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอได้ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกลุ่ม NCDs รวมถึงโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

V Precision Clinic ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ เพื่อเยียวยา และป้องกันโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) ที่ลดทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สามารถเข้ามาปรึกษาเพื่อวางแผนด้านสุขภาพเพื่อร่างกายที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

Reference

กรมควบคุมโรค. (28 กันยายน 2566). กรมควบคุมโรค ร่วมรณรงค์วันหัวใจโลก 2566 เผยปีที่แล้วคนไทยเสียชีวิต

โรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย ย้ำโรคนี้สามารถป้องกันได้. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=37372&deptcode=brc

Erica Roth. (17 September 2018). Causes and Risks of Heart Disease. Healthline.

https://www.healthline.com/health/heart-disease/causes-risks