ภาวะไตบวมน้ำ คือ ภาวะที่ไตเกิดการขยายของโครงสร้างภายในไตจึง เกิดจาการอุดตันทางเดินของปัสสาวะที่จะขับสู่ภายนอกทำให้ไตบวมน้ำ ทำให้เห็นว่ามีน้ำไปสะสมอยู่ในไต (hydronephrosis) ทำให้ปัสสาวะไม่สามารถขับออกมาจากกรวยไต หรือท่อไตได้ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกรวยไต และท่อไตภาวะไตบวมน้ำถ้าทิ้งไว้นานๆ จะทำให้เนื้อไตถูกทำลาย การทำงานของไตเสื่อมลง สุดท้ายก็จะกลายเป็นไตวายเรื้อรัง สามารถรักษาหายได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ภาวะแทรกซ้อนเช่น การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ ความดันสูง ไตวาย ขาดน้ำ ปริมาณโซเดียม ที่ร่างกายควรได้รับต่อวันคือ 2,300 มิลลิกรัม หรือเทียบกับเกลือ คือประมาณ 1 ช้อนชา ซึ่งการบริโภคโซเดียมนั้นแม้ว่าจะมีประโยชน์คือ ช่วยควบคุมสมดุลน้ำ และของเหลวในร่างกาย รวมถึงควบคุมระบบความดันโลหิต แต่หากร่างกายได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวันก็อาจจะส่งผลเสียได้ โดยเฉพาะทำให้ไตเสื่อม เนื่องจากไตต้องทำหน้าที่ขับโซเดียม แต่หากไตทำงานได้ไม่ดีก็อาจจะทำให้มีอาการบวมน้ำ เสี่ยงต่อโรคไต ความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้
สาเหตุ
การอุดตันของระบบปัสสาวะ ในเด็กๆเกิดจากความผิดปกติของท่อปัสสาวะ จำเป็นต้องใส่ท่อปัสสาวะเพื่อระบายของเสีย รวมถึงการช่วยเปิดท่อไตให้โล่งขึ้น รวมมถึงการตีบแคบของท่อไตก็สามารถช่วยปล่อยน้ำปัสสาวะที่กรองแล้วมาสู่กระเพะปัสสาวะได้ ในผู้ใหญ่สาเหตุที่เกดิได้บ่อยๆเช่น นิ่วในไต ต่อมลูกหมากบวมโต มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุอื่นๆ เช่น มะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ลำไส้โคล่อน
อาการ
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น เป็นนิ่วที่ท่อไต จะปวดร้าวลงขาหนีบและปัสสาวะมีเลือดปน ผู้ชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือต่อมลูกหมากโตทำให้เกิดปัญหาในการปัสสาวะ ปัสสาวะกลางคืนบ่อย ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสวาวะ ผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้จะมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
การรักษา
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เป้าหมายคือการสลายที่อุดตัน ๆ สำหรับการอุดตันกระทันหันสามารถใส่ท่อเพื่อระบายปัสสาวะเพื่อบรรเทาอาการในขณะที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือ ยา ในเรื่องของนิ่วในไตรักษาโดยแพทย์ศัลยกรรมท่อปัสสาวะ ร่วมกับให้ยาลดอาการปวด ให้สารน้ำ หรือผ่าตัดหรือวิธีสลายนิ่วโดยคลื่น(lithotripsy) หกามีขนาดใหญ่ม่สามารถหลุดออกมาเองได้
สิ่งที่ควรทำ
- ควรทราบว่าไตบวมน้ำไม่ใช่โรคแต่เป็นผลจากโรคอื่นๆ
- ควรทราบว่าหากไตบวมน้ำนานอาจทำให้หารทำงานของไตเสียหายได้
- ควรพบแพทย์ศัลยกรรรมท่อปัสสาวะหากพบไตบวม
- ควรรีบพบแพทย์หากปวดสีข้างร่วมกับมีเลือดออกมากับปัสสาวะ
- ควรรีบพบแพทย์หากปัสสาวะไม่ออกหรือน้อยลง
ห้ามทำ
- ห้ามลืมว่าไตบวมเกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
- ห้ามพลาดนัดแพทย์เช็คขนาดไต
โรคไต เป็นโรคที่คนไทยหลายคนกำลังประสบพบเจอ เป็นโรคที่เกิดจากอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ถูกหลักโภชนาการ การทานอาหารที่ไม่มีความสมดุล ทานบางอย่างมากเกินไป สะสมนานวันเข้า สุดท้ายอาจเป็นโรคไตได้ แต่นอกจากอาหารเค็มแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่คนเป็นโรคไต หรือที่กำลังฟอกไตอยู่ควรระวัง เนื่องจากภาวะไตบวมน้ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางกรณีอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ การป้องกันจึงอาจทำได้ยาก แต่ในเบื้องต้นอาจลดความเสี่ยงได้โดยการป้องกันตัวเองจากโรคหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ภาวะไตบวมน้ำ เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน และหลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือมากเกินพอดีเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไต
นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic
เอกสารอ้างอิง
https://www.jia1669.com/content/48045/ไตบวมน้ำ-hydronephrosis
https://www.sanook.com/health/7389/