เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีมานานแล้ว และเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองเป็นหลัก โดยผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าวัยอื่น คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า โรคซึมเศร้าเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากการความผิดหวัง หรือสูญเสียเท่านั้น ไม่ได้มองว่าเป็นโรคร้ายแรง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่เกิดมาในยุคที่ยังไม่มีการพูดถึงโรคซึมเศร้ามากเท่าในปัจจุบัน

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอาจเป็นเพียงเรื่องปวดหัวเล็กน้อยของคนรอบข้าง หรือคนในครอบครัว ไปจนกระทั่งรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้เป็นโรคซึมเศร้ามักไม่สนใจตัวเอง กินน้อย หรือไม่กินเลย เบื่อหน่ายการใช้ชีวิต ไม่นอน ไม่ทำกิจกรรม ไม่รับประทานยาตามสั่ง ทำให้ภาวะโภชนาการ และความแข็งแรงของร่างกายลดลง โรคประจำตัวอื่นๆ จะควบคุมได้ยากขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่สภาพอารมณ์ของผู้สูงวัยอาจแย่ลงต่อเนื่องไปนาน จนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ หรืออาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรงจนผู้ป่วยเลือกที่จะจบชีวิตตัวเอง ซึ่งแม้ว่าการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่เมื่อตัดสินใจทำแล้ว มักจะเลือกวิธีการที่รุนแรง และทำสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น หากผู้สูงวัยมีอาการเบื้องต้นที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้า ผู้ใกล้ชิดควรรีบพามาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้ทันท่วงที

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

ด้านจิตใจ

  • มีเหตุการณ์ร้ายแรงที่มากระทบกระเทือนความรู้สึก เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคทางร่างกายที่ร้ายแรง หรือปัญหาด้านการเงิน
  • ขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว และคนรอบข้าง

ด้านร่างกาย

  • โรคทางกายบางอย่างที่มักเกิดในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดสมองอุดตัน โรคพาร์กินสัน โรคต่อมธัยรอยด์ มะเร็งของตับอ่อน เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวของคุณ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เคยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามาก่อน คุณก็อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
  • มีการขาดหรือลดน้อยลง ของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ยกตัวอย่างเช่น ความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง สารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด โดยมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ลดน้อยลงจากเดิม ทำให้สมดุลของสารเหล่านี้เปลี่ยนไป และเกิดความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน

อาการโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

ผู้เป็นโรคซึมเศร้ามักไม่สนใจตัวเอง กินน้อยหรือไม่กินเลย เบื่อหน่ายการใช้ชีวิต ไม่นอน ไม่ออกกำลังกาย ไม่ทำกิจกรรม ไม่รับประทานยาตามสั่ง ทำให้ภาวะโภชนาการและความแข็งแรงของร่างกายลดลง โรคประจำตัวอื่นๆ จะควบคุมได้ยากขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่สภาพอารมณ์ของผู้สูงวัยอาจแย่ลงต่อเนื่องไปนานจนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ โรคซึมเศร้ามีโอกาสเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มคนวัยอื่น ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตอยู่เสมอ ว่าตัวผู้สูงอายุเองและคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ จะได้ป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที หากมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาเรื่องสุขภาพ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.thaihealth.or.th/

https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2700313

https://www.dop.go.th/th/know/15/546