โรคมะเร็ง ถือเป็นหนึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญของไทย และทั่วโลก มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี และสถิติจากกรมการแพทย์ในปี 2566 ระบุว่ามะเร็งที่คนไทยป่วยบ่อยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับ และท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งสำคัญอย่างไร?
โรคมะเร็งสามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือในระยะแรก โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็ง หรือผู้ที่มีอาการผิดปกติบางอย่างในร่างกาย เช่น พบก้อนผิดปกติตามร่างกาย น้ำหนักลดอย่างไร้สาเหตุ อ่อนเพลียเรื้อรัง โดยการตรวจโรคมะเร็งสามารถทำได้หลากหลายวิธีตามความเสี่ยงของชนิดมะเร็ง
รักษามะเร็งได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
หนทางการฟื้นฟูรักษาโรคมะเร็ง ถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่ในระยะแรกมีโอกาสสูงมากที่หายจากอาการป่วย
- การผ่าตัด กำจัดมะเร็งออกจากร่างกาย มักจะรักษาร่วมกับวิธีอื่นเพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุด
- เคมีบำบัด (Chemotherapy) รักษาโดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อเซลล์เพื่อลดจำนวนเซลล์ในร่างกายลง และลดโอกาสในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
- การใช้ยามุ่งเป้า (targeted therapy) รักษาโดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์กับเซลล์มะเร็งเท่านั้น
- การฉายแสง (Radiotherapy) ใช้รังสีในการทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง
- ภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) รักษาโดยใช้ยาเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ฮอร์โมนบำบัด (Hormone therapy) มักใช้เพื่อรักษามะเร็งที่อาศัยฮอร์โมนในการเติบโต
- การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplant) มักใช้รักษามะเร็งที่เกี่ยวกับเลือดบางชนิด
นอกจากวิธีที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีการรักษาแบบทางเลือกเพื่อเยียวยาผลข้างเคียงจากโรค หรือจากการรักษาอื่น ๆ อีกด้วย และในผู้ที่มีความกังวลต่อโรคมะเร็งสามารถเข้าตรวจคัดกรองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการ เพื่อความมั่นใจในการใช้ชีวิต โดยทีมแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญของ V Precision Clinic พร้อมให้คำแนะนำในการตรวจ และเยียวยาอาการข้างเคียงด้วยการรักษาแบบทางเลือกเฉพาะบุคคลที่มีคุณภาพ และทันสมัย
Reference
TNN ONLINE. (22 กุมภาพันธ์ 2566). 5 อันดับโรคมะเร็งพบมากในคนไทย เปิดสถิติป่วยรายใหม่ถึง 1.4 แสนคนต่อปี.
https://www.tnnthailand.com/news/health/139439/
healthdirect. (June 2022). Cancer.
https://www.healthdirect.gov.au/cancer
Heather Hobbs. (17 January 2023). Cancer: Types, Causes, Prevention, and More. Healthline.