“มะเร็ง” ที่พบได้มากที่สุดในเพศชาย และเพศหญิง

“มะเร็ง” ที่พบได้มากที่สุดในเพศชาย และเพศหญิง

“โรคมะเร็ง” โรคร้ายแรงที่มีสถิติการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยมีสาเหตุหลักมาจากเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย และมีปัจจัยเร่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งด้วยสาเหตุที่มะเร็งเป็นโรคที่มีการลุกลามอย่างรวดเร็ว และในบางชนิดที่ไม่แสดงอาการ ทำให้สามารถตรวจพบได้ยาก จึงคร่าชีวิตของคนทั่วโลกได้เป็นอันดับต้น ๆ ส่งผลกระทบให้หลายคนหวาดกลัวการเผชิญกับโรคดังกล่าว

มะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย

เพศชาย มักมีอัตราการเป็นโรคมะเร็ง และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากกว่าเพศหญิง อาจเป็นผลมาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย หรือการไม่ใส่ใจสุขภาพของตนเอง เมื่อตรวจคัดกรองก็พบในตอนที่มะเร็งได้ลุกลามในร่างกายไปเสียเยอะแล้ว จึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก โดยมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในเพศชาย คือ “มะเร็งตับ” ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

อาการของมะเร็งตับ

  • เบื่ออาหารแบบไร้สาเหตุ
  • ปวด เสียดบริเวณชายโครงด้านขวา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ขาทั้งสองข้างบวมอย่างผิดปกติ
  • ท้องผูก ท้องอืดเป็นประจำ และท้องโตแบบผิดปกติ

สาเหตุของมะเร็งตับ

  • เซลล์บริเวณตับ มีลักษณะ และการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม
  • ภาวะตับแข็ง ไวรัสตับเอกเสบบี และซี
  • การรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารที่ไหม้เกรียม
  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

มะเร็งที่มักพบในเพศหญิง

“มะเร็งเต้านม” เป็นโรคใกล้ตัวที่สามารถพบได้มากที่สุดในเพศหญิง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร เนื่องจากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง แต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ ซึ่งมะเร็งเต้านมมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน แต่สามารถหมั่นสังเกตร่างกายเพื่อคัดกรองมะเร็งชนิดนี้ด้วยตนเองได้ เพราะการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือการตรวจพบโรคได้เร็วตั้งแต่ระยะแรก การคัดกรองเป็นประจำจึงทำให้โอกาสการรักษาหายเพิ่มสูงขึ้น

อาการของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ไม่มีอาการเจ็บปวดจนกว่าจะอยู่ในระยะที่ลุกลาม และรักษาให้หายได้ยากจึงแสดงอาการผิดปกติ แต่สามารถพบได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการ “ตรวจเต้านมด้วยตนเอง” โดยการคลำบริเวณเต้านม เมื่อพบก้อนบริเวณดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

สาเหตุของมะเร็งเต้านม

  • เซลล์บริเวณต่อมน้ำนมมีการแบ่งตัวแบบผิดปกติ
  • มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม
  • ภาวะอ้วน มีน้ำหนักตัวสูงเกินไป
  • การบริโภคอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมันสูง และการดื่มแอลกอฮอล์

การช่วยป้องกัน และรักษามะเร็งตับ มะเร็งเต้านม ด้วย NK Cell

มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม สามารถป้องกัน และรักษาได้ดีมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดย “NK Cell” เป็นนวัตกรรมการรักษาที่มีความสามารถในการเพิ่มเซลล์ NK ให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ผิดปกติที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม รวมถึงมะเร็งประเภทอื่น ๆ จึงสามารถช่วยป้องกัน และรักษาโรคนี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา เนื่องจากเข้าไปช่วยเพิ่มเซลล์ด่านหน้าที่คอยตรวจจับเซลล์ร้ายซึ่งมักจะเสียไปจากการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่น เช่น การให้ยาเคมีบำบัด จึงทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และหายจากมะเร็งได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

วิธีการรักษาด้วย NK Cell

ผู้ป่วยจะถูกเก็บเลือดปริมาณเล็กน้อย เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงเซลล์ NK ที่แข็งแรง และได้คุณภาพ หลังจากนั้นจึงนำกลับเข้าสู่ร่างกายผ่านหลอดเลือดดำ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่มักเสียไปจากการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อให้เซลล์ NK สามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งให้หายไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม อาจเป็นโรคที่ทำให้หลายคนหวาดกลัว แต่ถ้าหากรู้เร็ว รักษาทัน ด้วยทางเลือกในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถเพิ่มโอกาสในการหายจากโรคเหล่านี้มากขึ้นเช่นกัน ประกอบกับการหมั่นดูแลรักษาสุขภาพ หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยง และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามคำแนะนำของแพทย์ หรือการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่าง NK Cell เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกาย ซึ่งเป็นระบบสำคัญที่ช่วยต่อต้านมะเร็ง ก็จะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยสามารถต่อสู้กับเซลล์ร้าย และหายขาดจากโรคมะเร็งดังกล่าวได้

Reference

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. (14 มีนาคม 2566). กรมอนามัย เผยหญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านมสูงสุด

แนะควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน. AnamaiMedia สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140366/

ThaiHealth Official. (26 พฤศจิกายน 2558). ชายเสี่ยง ‘มะเร็งตับ’ มากกว่าหญิง.

https://www.thaihealth.or.th/?p=258873

Thai PBS. (1 พฤศจิกายน 2566). รับมือคลื่นมะเร็ง “มฤตยูเงียบ” โรคร้ายคร่าชีวิตคนไทย.

https://www.thaipbs.or.th/news/content/333424