เรื่องด้านสุขภาพเรื่องหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ คือ “การตรวจสุขภาพ” ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การตรวจสุขภาพเนื่องจากพบอาการผิดปกติของร่างกาย แต่รวมถึงการตรวจสุขภาพในเชิงป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคในกลุ่ม NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
แนวทางการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ
- ควรนำประวัติทางการแพทย์มาเพื่อประกอบการวินิจฉัย เช่น ประวัติอาการป่วย และการรักษา
- เตรียมข้อสงสัย หรืออาการผิดปกติด้านร่างกายเพื่อสอบถาม และวินิจฉัยต่ออย่างเหมาะสม
- ควรแจ้งเกี่ยวกับยา หรืออาหารเสริมที่กำลังรับประทาน
- หากมีความจำเป็นควรงดรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มก่อนการตรวจอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง
- งดการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันผลการตรวจคลาดเคลื่อน
- ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย เพื่อให้ง่ายต่อกระบวนการตรวจ เช่น การวัดความดันโลหิต
- ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนเองอย่างซื่อตรง เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด
- สำหรับเพศหญิง ไม่ควรตรวจสุขภาพในช่วงก่อน และหลังมีประจำเดือน 7 วัน รวมถึงงดตรวจปัสสาวะ และเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ช่วงมีประจำเดือน
หลังจากการตรวจสุขภาพ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรค หากได้รับนัดหมายเพื่อติดตามผล หรือตรวจเฉพาะเจาะจงเพิ่มเติมควรมาตามนัดหมายดังกล่าว เพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพที่ครบถ้วน
หลายคนอาจมีความคิดว่า “ยังไม่มีอาการผิดปกติ ทำไมต้องตรวจสุขภาพ?” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เนื่องจากการตรวจสุขภาพอย่างเหมาะสมเป็นประจำมีส่วนช่วยที่สำคัญในการป้องกันโรคต่าง ๆ และสามารถค้นพบโรคที่เป็นภัยเงียบได้ในระยะเริ่มต้น ซึ่งส่งผลดีต่อการรักษาให้ดีขึ้นค่อนข้างมาก ที่ V Precision Clinic เป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่เน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน พร้อมแนะนำการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละท่านโดยละเอียด
Reference
กิดานัล กังแฮ. (20 สิงหาคม 2558). 6 เรื่องน่ารู้ ก่อนตรวจสุขภาพ. Thaihealth.
https://www.thaihealth.or.th/?p=231121
Brian Krans. (21 January 2020). Physical Examination. Healthline.