เนื้อร้าย (Cancer) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง ปัจจัยหลายอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ และการรับรู้ถึงความเสี่ยงและวิธีการป้องกันสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- พันธุกรรม: การมีประวัติครอบครัวที่มีคนเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ในรุ่นถัดไป
- การบริโภคอาหาร: การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง หรืออาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น สารกันบูด สารเคมีบางชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
- การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์: การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดมะเร็งปอด และมะเร็งอื่น ๆ ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์เกินควรอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร
- การสัมผัสกับสารเคมี: การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้สารเคมี หรือสารก่อมะเร็ง เช่น สารแอสเบสตอส หรือสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม
- การติดเชื้อไวรัส: การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี (Hepatitis B and C), ไวรัสเอชพีวี (HPV) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูก
- รังสีอัลตราไวโอเลต: การรับแสงแดดมากเกินไปโดยไม่ป้องกันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง
อาการของโรคมะเร็งเป็นอาการที่ไม่จำเพาะต่อโรคมะเร็ง กล่าวคือ มีโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งสามารถทำให้เกิดอาการที่คล้าย หรือเหมือนกันกับโรคมะเร็งได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ไม่รู้ตัว หรือไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า แล้วพบว่าเกิดเป็นมะเร็งในระยะแพร่กระจายไปแล้ว
การป้องกัน และลดความเสี่ยง
- การตรวจสุขภาพเป็นประจำ: การตรวจร่างกาย และการตรวจสุขภาพเป็นประจำสามารถช่วยให้ตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น และเพิ่มโอกาสในการรักษาได้
- การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์: การรับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำ รวมถึงการเลือกอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น อาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีวิตามิน และแร่ธาตุ
- การหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง: หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่อาจเป็นอันตราย การลดการบริโภคอาหารที่มีสารกันบูด และสารเคมี
- การออกกำลังกายเป็นประจำ: การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกั นและลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
- การเลิกสูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์: การเลิกสูบบุหรี่ และการลดการดื่มแอลกอฮอล์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้
- การป้องกันจากแสงแดด: ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ใส่หมวกและเสื้อผ้าที่ป้องกันแสงแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง
- การฉีดวัคซีน: การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสเอชพีวี (HPV) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับและมะเร็งปากมดลูก
- Natural Killer (NK) cells หรือเซลล์นักฆ่าธรรมชาติ เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการตรวจจับและทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส และเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันแบบธรรมชาติ (innate immune system) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อและการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติ
Reference
สงสัยว่ามีอาการเหล่านี้เป็นมะเร็งได้หรือไม่
ทำความรู้จักกับโรคมะเร็งกันเถอะ, เผยแพร่ 2552, มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย
เรียบเรียงและอัพเดทเนื้อหาให้เป็นปัจจุบันโดย มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง
https://health.kapook.com/view111437.html
https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=528
รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์
ภาควิชาศัลยศาสตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศรีษะ คอ และเต้านม
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล