โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes mellitus, T2DM) เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนได้ไม่เพียงพอต่อร่างกาย หรือ “ภาวะดื้ออินซูลิน” โดยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากอะไร?
- ปัจจัยด้านพันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคเบาหวาน
- ปัจจัยด้านอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- ปัจจัยด้านสุขภาพ ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพสามารถเพิ่มความเสี่ยงการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เช่น โรคอ้วน ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคหัวใจ และหลอดเลือด
- ปัจจัยด้านพฤติกรรม ได้แก่ ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ความเครียด นอนน้อย หรือมากเกินไป รวมถึงการรับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างไร?
- ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- เลิกสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรัง (NCDs) ที่ไม่สามารถหายขาดได้ และต้องพึ่งพาการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้นการมีพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อร่างกาย และตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคดังกล่าวจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดต่อการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยในปัจจุบันมีนวัตกรรมทางการแพทย์สำหรับตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
หากมีความกังวลสามารถเข้ารับการตรวจ และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมมากขึ้นเมื่อพบว่ามีความเสี่ยงสูง และคอยระวังระดับน้ำตาล และคอเรสเตอรอลในร่างกายให้อยู่ในระดับที่ปกติอยู่เสมอ
Reference
Healthdirect. (November 2022). Type 2 diabetes.
https://www.healthdirect.gov.au/type-2-diabetes#:~:text=Treating%20type%202%20diabetes%20is,stroke
WebMD Editorial Contributors. (25 June 2023). Type 2 Diabetes: Symptoms, Causes, Treatment.