เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

เมื่อสมองอายุมากขึ้น

เมื่อสมองอายุมากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์สมองจะค่อย ๆ ลดลง และไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนส่วนที่ตาย ความสามารถในการจดจำเรื่องราวต่าง ๆ จึงถดถอยตามวัย ที่มากขึ้น มีอาการหลงลืม คิดอ่านช้าลง เข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการในชีวิตประจำวัน จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน นอกจากนี้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้สะดวก ช่วยกระตุ้นให้เซลล์สมองทำงานดีขึ้น

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลักทางด้านความจำ โดยไม่สามารถจดจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ มักจำไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ไหนทั้ง ๆ ที่พยายามจะจำ และเมื่อเป็นนานเข้าผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หลงทาง คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง มีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม.โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง ทำให้สมองบางส่วนทำหน้าที่ลดลง เป็นผลให้มีอาการต่าง ๆ ของโรคแสดงออกมา โดยสาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

สมองล้าส่งผลอย่างไร

เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างสมองส่วนหน้ากับสองส่วนท้าย ทำให้สองทั้งสองส่วนทำงานไม่สมดุลกัน จึงเกิดความผิดปกติ เรียกว่า ความเสียสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. อุณภูมิของสมองสูงขึ้น เมื่อสมองความร้อนกว่าปกติ เซลล์ประสาทสมองรวมถึงวงจรประสาทจะทำงานได้ไม่เต็มที่ เราจึงรู้สึกสดชื่นเวลาล้างหน้าหรืออาบน้ำ สระผมเพราะได้ลดอุณภูมิของสมองลงด้วย
  2. สารสื่อประสาทขาดแคลน สารสื่อประสาทสำคัญทั้งห้า คือโดพามีน (สารสำเร็จ)ชิโรโทนิน(สารสงบ) นอร์อะดรีนาลิน(สารขาลุย)กาบา(สารยับยั้ง)และเอนดอร์ฟิน(สารสำราญ) จะหมดไปเมื่อสมองดึงมาใช้ตลอดเวลา โดยไม่หยุดพัก ดังนั้น หากสารสื่อประสาทหมดลง สมองจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  3. ระบบประสาทสัมผัสผิดปกติ เมื่อสมองล้า ประสาทสัมผัสมักเกิดความผิดปกติ เช่นตาตาพร่า หูอื้อ เบื่ออาหาร ผิวหนังไวต่อสิ่งเร้าฯลฯ ความเจ็บป่วยทางกายแบบเรื้อรังก็เป็นสาเหตุสำคัญของอาการเหนื่อยของสมองเช่นกัน
  4. ไฮโพทาลามัส (ศูนย์กลางสัญชาตญาณ)ได้รับความเสียหาย สมองส่วนนี้คือ หัวใจหลักของสมองล้า เมื่อกลไกของส่วนนี้เสียสมดุล จึงก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น โรคหวัดที่มาในช่วงที่ร่างกายอ่อเพลีย

ในแต่ละวันหากเราเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองบ้างก็จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของเซลล์สมอง ป้องกันการเสื่อมเร็วกว่าเวลาที่ควรจะเป็น เหมือนกับการออกกำลังกาย หรือการเลือกรับประทานอาหารบำรุงส่วนอื่น ๆ เพราะสมองก็ต้องการการดูแลเพื่อให้ฟิตแอนด์เฟิร์มด้วย การบำรุงรักษาสมอง มีอาหารเสริมมากมายที่สามารถช่วยบำรุงรักษาสมองของคุณได้ เช่น น้ำมันปลา วิตามินบี แป๊ะก๊วย และขมิ้น แต่จะเลือกอันไหน จะบำรุงสมองของคุณอย่างไรและอาหารเสริมไหนเหมาะกับคุณบ้าง มาบำรุงสมองที่ V Precision Clinic  ด้วยโปรแกรม Brain Peptide ช่วยให้มีสมองที่เปี่ยมประสิทธิภาพอยู่กับเราไปได้นาน ๆ

Brain peptide

การให้ความสำคัญกับอาหารสมอง ด้วยการเลือกอาหารที่เหมาะสมร่วมกับวิตามินอาหารเสริม จะช่วยให้มีสมองที่เปี่ยมประสิทธิภาพอยู่กับเราไปได้นาน ๆ Brain peptide เป็นอีกตัวช่วยเสริมฟื้นฟู ซ่อมแซมเซลล์สมองซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพการมีตัวช่วยดีๆ ในการบำรุงสมองจึงช่วยได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน ที่ต้องใช้สมองในการคิด และทำงาน ยิ่งต้องหาตัวช่วยเหล่านี้ มาบำรุงสมองของเรา Brain peptide จึงเป็นอีกทางเลือกที่สะดวกและรวดเร็ว เหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง นอกจากอาหารเสริมจะช่วยบำรุงระบบความจำ และระบบสมองให้ดีขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

Brain peptide โมเลกุล ที่จำเป็นต่อสมอง เพื่อช่วยในการฟื้นฟู และป้องกันปัญหาโรคระบบประสาท

  • ซ่อมแซมผนังเซลล์ และเพิ่มสารสื่อประสาท ให้สมองแข็งแรง มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาที่ต้นตอความเสื่อมของเซลล์สมอง
  • ซ่อมแซมเซลล์สมองที่เสื่อมให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง โดยการปรับสมดุลฮอร์โมน หรือใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อป้องกันเซลล์ประสาทจากการทำลายด้วยสารพิษ ลดความเสี่ยงของโรคทางสมอง พร้อมยังเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำ การเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น

V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.ipst.ac.th/knowledge/13666/brain.html

https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2488

Relate Article