เหงื่อออกที่มือสัญญาณเตือนความผิดปกติ

เหงื่อออกที่มือสัญญาณเตือนความผิดปกติ

เหงื่อออกมากเกินไป อาจกลายเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ ในภาวะที่เหงื่อออกมากแบบไม่สัมพันธ์กับอากาศร้อน หรือไม่ได้มีการออกกำลังกาย เกิดได้จากระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับเหงื่อ ภาวะโรคเหงื่อออกที่มือ นับว่าเป็นสัญญาณที่ผิดปกติ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

การที่เรามีเหงื่อออกเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับเหงื่อออกมาเพื่อปรับสมดุลภายใน ซึ่งโดยปกติร่างกายจะขับเหงื่อวันละ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และการทำกิจกรรมหนัก-เบาในแต่ละวัน แต่หากสังเกตเห็นว่าเหงื่อออกมือ เหงื่อออกเท้า เยอะและบ่อยมากเกินปกติ คงต้องเอะใจในอาการนี้ของตัวเองกันหน่อย เพราะการมีเหงื่อออกมือ ออกเท้า อาจชี้ถึงความผิดปกติของสุขภาพได้

เหงื่อออกมือ เหงื่อออกเท้า บอกโรคอะไรได้บ้าง

1. ภาวะหลั่งเหงื่อมาก

          เป็นภาวะมีเหงื่อออกที่ไม่สัมพันธ์กับอากาศร้อน ไม่สัมพันธ์กับการออกแรง ไม่เกี่ยวกับความเครียดหรือความตื่นเต้น และมักจะมีเหงื่อออกไม่เป็นเวลา ทว่าก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากร่างกายมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้ง่าย โดยอาการก็มักจะมีเหงื่อออกมากบริเวณมือ เท้า รักแร้ หรืออาจจะมีเหงื่อออกที่หู หนังศีรษะ และบริเวณด้านหลังด้วยในบางราย อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้ไม่อันตราย แต่อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง และการมีเหงื่อชื้นที่ผิวอยู่ตลอดเวลาอาจเกิดการอับชื้นจนเสี่ยงติดเชื้อที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ

2. โรคไทรอยด์เป็นพิษ

          โรคไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหงื่อออกซึมทั่วตัวและบริเวณฝ่ามือ ผมร่วง หิวน้ำบ่อย กินจุแต่น้ำหนักลดลงเรื่อย ๆ และอาจมีอาการมือสั่น ใจสั่น ร่วมด้วย

3. โรคเบาหวาน

          ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีเหงื่อออกที่มือ เหงื่อออกเท้ามาก และบางรายอาจมีอาการเหนื่อยหอบ หรือวูบได้ โดยเฉพาะคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

4. โรคเครียด

           แค่มีความเครียดในระดับที่สูงมาก ก็อาจมีอาการเหงื่อออกมือ เหงื่อออกเท้า เหงื่อออกหน้าผาก ร่วมกับอาการใจสั่น และอาการมือสั่น

5. โรคหัวใจ

          โรคหัวใจที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทอัตโนมัติ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหงื่อออกมือ ร่วมกับอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานในการสูบฉีดโลหิตมากกว่าปกติ จึงทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งหากพบผู้ป่วยในสภาวะนี้ควรต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

โรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเหงื่อใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ต้องมีปัจจัยอื่นร่วมอีกหลายอย่าง แต่มีทางป้องกันได้ ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพตัวเอง ตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินสุขภาพ หากกังกลว่าจะมีความเสี่ยงเพิ่มควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://health.kapook.com/view243426.htmlอ

Relate Article

โรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ …

ยิ่งเครียด … ยิ่งเสี่ยงโรค

การที่มีความเคร …

เครียดต้องกินของหวานจริงไหม ?

เวลาที่คุณเครีย …

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหั …