เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกได้จริงหรือไม่

แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกได้จริงหรือไม่

กระดูกเป็นโครงสร้างของร่างกาย ทำให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ และเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ซึ่งแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก คือ แคลเซียม แคลเซียมไม่ได้มีบทบาทต่อกระดูก และฟันเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อระบบต่างๆ ของร่างกายด้วย หน้าที่ของแคลเซียมต่อร่างกายพอจะจำแนกได้ดังนี้
  • สร้างกระดูก ฟัน เล็บ และเส้นผม รวมทั้งซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • ทำให้ระบบประสาทส่วนที่ควบคมการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
  • ควบคุมให้กลไกการแข็งตัวของเลือดเป็นไปตามปกติ
  • ช่วยระบบประสาทในการส่งสัญญาณให้เร็วขึ้น
  • เป็นส่วนผสมของน้ำย่อยทุกชนิด และช่วยให้ระบบของน้ำย่อยทำงานเป็นปกติ
  • ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 12
  • ป้องกันอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน

จากหน้าที่ทั้งหมดจะเห็นได้ว่าแคลเซียมมีความจำเป็นต่อร่างกายมาก หน้าที่โดยรวมของแคลเซียมในเด็กและผู้ใหญ่คงไม่ต่างกัน เพียงแต่สัดส่วนของการทำหน้าที่อาจไม่เท่ากัน คือ ในเด็กวัยที่กำลังเจริญเติบโตทุกด้านโดยเฉพาะกระดูกและฟัน แคลเซียมจึงต้องทำหน้าที่หนักไปในด้านนี้ แต่ก็ยังต้องรักษาหน้าที่อื่นให้ปกติด้วย ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่หลังจากอายุ 35 ปีไปแล้ว แคลเซียมไม่สามารถเสริมสร้างกระดูกได้ แต่ก็ยังต้องทำหน้าที่รักษาสมดุลของเนื้อกระดูกให้อยู่ได้นานที่สุดโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายประการ

อันตรายจากการทานแคลเซียม “น้อยเกินไป”

กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงสุดที่อายุประมาณ 30 ปี และจะค่อนข้างคงที่อีก ประมาณ 15-20 ปี จากนั้นจะเริ่มลดลงโดยเฉพาะในผู้หญิงที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังหมดประจำเดือน หากเรารับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ กระดูกจะเริ่มสูญเสียแคลเซียมอย่างรวดเร็วจนเกิดกระดูกพรุน และกระดูกหักได้ ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงวัยกระดูกพรุน ทั้งจากอายุที่มากขึ้น โรคในผู้สูงอายุทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูงในเลือด อ้วน และโรคทางเมตาบอลิซึม เป็นต้น

อันตรายจากการทานแคลเซียมเสริม “มากเกินไป”

ผู้ที่รับประทานแคลเซียมเกินกว่าปริมาณที่แนะนำ โอกาสเกิดโทษจากแคลเซียมเกินขนาดก็ยังไม่สูงมากนัก (เว้นแต่รับประทานสูงกว่าปกติ 2-3 เท่าขึ้นไป) เช่น อาจเพิ่มโอกาสที่ทำให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือโรคทางสมองบางชนิดได้ ทั้งนี้ในร่างกายมีกลไกระดับเซลล์และการใช้ฮอร์โมนในการควบคุมอัตราการดูดซึมแคลเซียม จากอาหารเข้าสู่ร่างกาย หากดูดซึมมากเกินไปเซลล์ของลำไส้จะมีการสร้างสารเคมี “ไฟ โบรบลาสต์โกรทแฟคเตอร์-23” เพื่อยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม เป็นต้น

ควรเลือกทานแคลเซียมเสริมต่อเมื่อได้รับคำแนะนำจากแพทย์ โดยสามารถสอบถามกับแพทย์ในช่วงที่ตรวจสุขภาพประจำปีได้ว่าควรรับการเสริมแคลเซียมหรือไม่ และมากเท่าไร เพื่อป้องกันการเสริมแคลเซียมมากเกินความจำเป็น V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic