เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โรคกระดูกพรุนอย่าคิดว่าไกลตัว

โรคกระดูกพรุนอย่าคิดว่าไกลตัว

เมื่อเราอายุมากขึ้น จะมีภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก ทำให้เสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักหรือยุบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือความเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุนจะเพิ่มสูงขึ้น โรคกระดูกพรุน มักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อัตราประมาณ 4 ต่อ 1 โดยสาเหตุหลักมาจาก “อายุ และเพศ” เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง สำหรับผู้ชายนั้น ในช่วงบั้นปลายชีวิตก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้เช่นกัน โดยจะมีลักษณะสำคัญคือกระดูกบางและเปราะ นอกจากนั้นการบริโภคแอลกอฮอล์และคาเฟอีนก็มีผลต่อโรคกระดูกพรุนเพราะเครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้เพิ่มการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย หรือการไม่ได้รับแสงแดดและวิตามินดีที่เพียงพอเพราะวิตามินดีกับแสงแดด เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน มักมีการขาดวิตามิน 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ แคลเซียม และ วิตามิน D ในปัจจุบัน จึงมีการแนะนำกันโดยทั่วไปครับ ว่าในผู้หญิงทุกคน ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และเพศชายที่อายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูก (Bone Mineral Density) เพื่อดูว่ามีภาวะกระดูกพรุนหรือไม่

การปฏิบัติตัวง่ายๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนมีดังนี้

  1. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
  2. ไม่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่
  3. โดนแสงแดดในยามเช้าหรือช่วงเย็นๆบ้าง เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามิน D ได้
  4. เน้นทานอาหารที่มีแคลเซียมมากเช่น ผลิตภัณฑ์จากนม  กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กๆ   งาดำ ผักใบเขียว
  5. ทานวิตามินเสริมแคลเซียม 1,000 กรัม และ วิตามิน D 400 IU (ยูนิต) ต่อวัน

วิธีช่วยให้กระดูกแข็งแรง

การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงนั้นสามารถทำได้ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี ถือเป็นการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด

  1. ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight Bearing Exercise) และแบบเพิ่มแรงต้านอย่างสม่ำเสมอ (Resistant Exercise) โดยใช้เท้าและขา หรือมือ และแขน ในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน วิ่ง หรือการเดิน
  2. การได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตามคำแนะนำของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2564 มีดังนี้

            – สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และหญิงวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง

            – ไม่แนะนำให้รับประทานแคลเซียมมากกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งรวมทั้งแคลเซียมจากอาหารและแคลเซียมเสริม สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัตินิ่วในไต ควรได้รับการประเมินสาเหตุของการเกิดนิ่ว ส่วนประกอบของนิ่วก่อนให้แคลเซียมเสริม

  1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มกาแฟ หรือแอลกอฮอล์ ที่มีผลให้มวลกระดูกลดลง

 

ไม่ต้องรอให้แก่แล้วค่อยดูแลกระดูก เพราะยิ่งเราเริ่มดูแลตัวเอง ดูแลกระดูกของเราเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งลดความเสี่ยงได้เท่านั้น การทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับแสดงแดดอ่อนๆ ยามเช้า ยามเย็น หลีกเลี่ยงอาหารหรือสิ่งที่ทำลายสุขภาพ กระดูกเราก็จะแรงแรงทำให้เราสนุกกับการใช้ชีวิตโดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น เรียกว่าเราจะแก่อย่างมีคุณภาพและมีสุขภาพที่ดี แต่อย่างไรเสียเพื่อความไม่ประมาทและเพื่อให้เราใช้ชีวิตได้อุ่นใจขึ้นการมีประกันสุขภาพที่มีวงเงินครอบคลุมตามที่เราต้องการจะเป็นตัวช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างไร้กังวล และถ้าโชคร้ายเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาจริงๆ เราก็มีประกันที่จะดูแลค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้นทุกวัน การหาตัวช่วยเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายได้ สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/increase-bone-mass.html

https://www.thairath.co.th/news/local/2609695