เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โรคมะเร็งเกิดจากเซลล์ผิดปกติ

โรคมะเร็งเกิดจากเซลล์ผิดปกติ

โรคมะเร็ง หมายถึง โรคที่เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หรือแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว โดยอาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ ได้ โรคมะเร็งเป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่โรคมะเร็งบางชนิดอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม ถ้ามีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ สมาชิกภายในครอบครัวนั้นก็อาจจะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด ทราบแต่เพียงสาเหตุส่งเสริมที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ดังนี้

  1. เชื้อโรคบางชนิด เช่น
    – เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งโพรงจมูก
    – เชื้อแบคทีเรียบางชนิด เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  2. พยาธิใบไม้ในตับซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับและทางเดินน้ำดีได้
  3. สารเคมีหลายชนิดก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น พวกแอสเบสทอส ทำให้เกิดมะเร็งปอด เป็นต้น
  4. ยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน หรือยารักษามะเร็งบางชนิด ไม่ควรรับประทานเอง ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เป็นต้น

การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา

ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง และ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น นอกจากดูแลในเรื่องอาหารการกินแล้ว ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เดินระยะสั้นเพื่อออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายตามปกติ และดูแลสภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ พูดคุยหรือทำกิจกรรมที่ชอบร่วมกับครอบครัว ก็จะช่วยให้ทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจฟื้นฟูหลังจากการรักษามะเร็งได้ รวมถึงลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งซ้ำได้อีกด้วย

หากคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ควรมองข้ามหากมีความเสี่ยง อาจส่งผลต่อร่างกาย ระบบอื่นๆ ได้  ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และให้แพทย์การวินิจฉัยอาการ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของคุณให้ห่างไกลจากโรค นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic

Reference

http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=31&typeID=18 สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

https://www.nci.go.th/th/Knowledge/whatis.html สถาบันมะเร็งแห่งชาติ