โรครองช้ำ (Plantar fasciitis) เป็นโรคที่เอ็น หรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณส้นเท้า และมีอาการหนักขึ้นหลังจากตื่นนอน หรือขึ้นบันได ซึ่งโรครองช้ำเป็นอีกหนึ่งโรคที่อาจมีสาเหตุจากโรคกระดูก และข้ออักเสบ โดยเฉพาะข้ออักเสบรูมาตอยด์ และข้อสันหลังอักเสบ
ทำไมถึงเป็นโรครองช้ำ?
อาการเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบมักเกิดขึ้นเมื่อมีการยืด หรือใช้เอ็นบริเวณนี้มากเกินไป โดยมีหลายปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โดยเฉพาะเพศหญิงจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย
- การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้เอ็นใต้ฝ่าเท้าได้รับแรงกดสูง
- นักกีฬา โดยเฉพาะนักวิ่งระยะไกลจะเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าบุคคลทั่วไป
- ผู้ที่เดิน วิ่ง หรือลุกนั่งเยอะเป็นประจำ เช่น พนักงานเสิร์ฟ ทำให้มีการใช้เอ็นใต้ฝ่าเท้ามากเกินไป
- โครงสร้างของเท้าผิดปกติ เช่น เท้าโค้งสูง หรือแบน
- การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ
- ผู้ที่มีปัญหาเอ็นร้อยหวายตึง หรืออักเสบ ส่งผลให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวส้นเท้าได้อย่างสะดวก
- การเป็นโรคกระดูก และข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือข้อสันหลังอักเสบ
โรครองช้ำรักษาได้อย่างไร?
โรครองช้ำสามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการบำบัดเบื้องต้นคือการปรับพฤติกรรมเพื่อลดการใช้ส้นเท้า การลดน้ำหนัก การทำกายภาพบำบัดบริเวณกระดูก และข้อเท้า เพื่อเสริมสร้างการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยคลื่นกระแทก (Shock wave therapy) หรือการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ และการผ่าตัด สุดท้ายคือนวัตกรรมทางการแพทย์แบบใหม่ต่าง ๆ เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่รวดเร็ว และลดระยะเวลาพักฟื้นหลังการรักษา
หากพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรครองช้ำ ควรเข้ารับการวินิจฉัย และการรักษาจากแพทย์โดยเร็ว เพื่อระงับการลุกลาม และอาการไม่พึงประสงค์ของโรค ที่ V Precision Clinic มีแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูก และข้อ พร้อมทั้งนวัตกรรมการรักษาโรคทางกระดูก และข้อที่ไม่พึ่งการผ่าตัด พร้อมให้คำแนะนำ และการรักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ
Reference
Sanook. (3 กรกฎาคม 2566). “โรครองช้ำ” เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?.
https://www.sanook.com/health/18365/
SOOK Magazine No.68. (14 กุมภาพันธ์ 2562). รู้ทันโรครองช้ำ. ThaiHealth Official.
https://www.thaihealth.or.th/?p=227585
Jennifer Larson. (26 February 2023). Plantar Fasciitis. Healthline.