เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหัวใจ และปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ สามารถเกิดกับวัยไหนก็ได้ “โรคเลือดหัวใจ” โรค หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับเลือดและหัวใจ ซึ่งอาจจะครอบคลุมถึงโรคหรือภาวะต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบเลือดและระบบหัวใจ เช่น

  • โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease): เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure): หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • โรคลิ้นหัวใจ (Valvular Heart Disease): ปัญหาของลิ้นหัวใจที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ปกติ
  • โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension): ความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis): การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส

สาเหตุของกลุ่มโรคหัวใจมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่

  • พฤติกรรมสูบบุหรี่
  • มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง
  • มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สัญญาณเตือนโรคหัวใจ

จากข้อมูลข้างต้นของสถาบันโรคทรวงอก ที่ระบุว่า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือน แต่โรคหัวใจส่วนใหญ่ก็มีสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงที่สังเกตได้

  • มีอาการเจ็บหน้าอก เช่น บีบเค้นหน้าอกเหมือนมีของหนักกดทับ เจ็บหน้าอกร้าวไปกราม ขากรรไกร คอ แขน ไหล่ หลัง เจ็บหน้าอกร่วมกับเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น เจ็บหน้าอกนานกว่า 20 นาที
  • นอกจากนี้ยังมีอาการเหนื่อยง่าย ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง มีภาวะหัวใจล้มเหลว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเป็นลมหมดสติ

วิธีลดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ พฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจได้ในระดับหนึ่ง 
  • คุมโรคประจำตัวให้ดีหากคนไข้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง การคุมโรคเหล่านี้ให้ดีจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก

หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นภาวะอันตรายที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน หากมีอาการที่สงสัยว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที หากคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ควรมองข้ามหากมีความเสี่ยง อาจส่งผลต่อร่างกาย ระบบอื่นๆ ได้  ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และให้แพทย์การวินิจฉัยอาการ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของคุณให้ห่างไกลจากโรค นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic

Reference

https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1081120191227084415.pdf

https://www.bbc.com/thai/articles/cpd235vgl3po

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ อ. นพ.บัณฑิต นราตรีคูณ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล