เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์  แต่ว่ามีความผิดปกติเรื่องระบบเผาผลาญ เป็นโรคอ้วน เบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง จนทำให้ไขมันไปสะสมอยู่ที่ตับ เมื่อมีไขมันไปสะสมอยู่ที่ตับจำนวนมาก จะทำให้ตับอักเสบหรือเซลล์ตับถูกทำลาย จนเกิดพังผืดที่ตับ จนเป็นโรคตับแข็งในที่สุด และอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ได้ระวังตัว อย่างเช่นอาหารที่มีไขมันสูง อาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทอด ของมันๆ หรือแม้แต่อาหารที่ประกอบไปด้วย นม เนย กะทิ ชีส ไข่แดง เป็นต้น ล้วนเป็นอาหารที่มีไขมันสูง อาจทำให้ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไปจนเป็นไขมันส่วนเกิน ทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง และเกิดการสะสมที่ตับจนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับได้

สาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ด้วยกันดังนี้

  1. โรคไขมันพอกตับที่เกิดจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver Disease) ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปจนตับไม่สามารถทำงานเป็นปกติได้ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาในการดื่มว่าบ่อยครั้งแค่ไหน ปริมาณเท่าไหร่ ดื่มแอลกอฮอล์ประเภทใด
  2. โรคไขมันพอกตับไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease) เกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกายหรือความผิดปกติจากการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  โรคไขมันในเลือดสูง

ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคไขมันพอกตับ

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน
  • ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี หรือซี
  • ผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะการดำเนินโรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับมีระยะการดำเนินโรค 4 ระยะดังนี้

  • ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมที่เนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือเกิดผังผืดขึ้นที่ตับ
  • ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีการอักเสบที่ตับ ถ้าหากไม่ควบคุมรักษาให้ดีอาจเกิดการอักเสบ และถ้าหากปล่อยไว้เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่สาม เป็นระยะที่เกิดการอักเสบรุนแรง ทำให้เกิดผังผืดที่ตับ เซลล์ตับจะค่อยๆถูกทำลาย
  • ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ตับถูกทำลายมากที่สุด จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จนทำให้ตับแข็งและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับในที่สุด

วิธีป้องกันและแนวทางการรักษาโรคไขมันพอกตับ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ มีกากใยสูงและให้พลังงานที่ต่ำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันความเสี่ยง

        โดยที่ V Precision สามารถตรวจรู้ได้ก่อนเกิดโรคร้ายด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพตับด้วยเครื่อง Fibro Scan การตรวจด้วย FibroScan จะสามารถช่วยในการติดตามผลดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะตับแข็งได้ เพราะการตรวจด้วย FibroScan จะแสดงค่าตับแข็งและค่าปริมาณไขมันสะสมในตับ การตรวจพบอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถช่วยให้คุณเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และหาสาเหตุของโรคต่อไปได้โดยไม่ต้องไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ลดภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อนที่นำไปสู่ความอัตรายถึงชีวิต อย่าปล่อยไว้นานแล้วค่อยมาแก้ไข

Relate Article