โรคไตเป็นปัญหาสุขภาพที่หลายคนมักไม่ให้ความสำคัญ แต่เป็นภัยเงียบที่สามารถส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้ โรคไตหมายถึงสภาวะที่การทำงานของไตเสื่อมลง ไม่ว่าจะเป็นจากการติดเชื้อ การอักเสบ หรือการสูญเสียหน้าที่ในการกรองของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
สาเหตุของโรคไต
- เบาหวาน โรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายหลอดเลือดที่ไต
- ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงสามารถทำให้หลอดเลือดที่ไตเสียหายได้
- การใช้ยาบางชนิด ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ถ้าใช้ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อไต
- การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อซ้ำซากสามารถทำให้ไตเสียหายได้
- ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง
อาการของโรคไต
- อาการบวมน้ำตามขา และเท้า
- ปัสสาวะน้อย หรือสีของปัสสาวะเปลี่ยนไป
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ปวดหลัง หรือปวดท้องด้านล่าง
- คันทั่วร่างกาย
พฤติกรรมเสี่ยงโรคไตที่ควรหลีกเลี่ยง
นอกจากการปฏิบัติตัวในข้างต้นแล้ว เรามีข้อแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมต้องห้ามที่เสี่ยงต่อโรคไตวายเรื้อรังดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารรสจัดมักเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง ส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด
- ไม่สูบบุหรี่ ยิ่งสูบบุหรี่ ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคไตวายเรื้อรังสูง โดยผู้ที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงมากกว่าคนไม่สูบถึง 4 เท่า นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ อีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกัน
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งานทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักโดยที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง เพราะอาจทำให้ไตเสื่อมไวได้
การป้องกัน และดูแล
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากมีโรคเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้เหมาะสม
- การควบคุมความดันโลหิต ควรตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- การรับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง และโปรตีนในปริมาณมาก
- การเลิกสูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์ การลดการสัมผัสกับสารพิษเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไต
- การดื่มน้ำเพียงพอ การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันช่วยให้ไตทำงานได้ดี
การตรวจสุขภาพเป็นประจำ และการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคไตและการรักษาที่เหมาะสมเมื่อมีปัญหา ดังนั้นเมื่อรู้ถึงลักษณะอาการของโรคไตตั้งแต่เนิ่น ๆ หมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
ไม่มีคำว่าสายเกินไปในการดูแลสุขภาพ หากคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ควรมองข้ามหากมีความเสี่ยง การตรวจสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคต่างๆ ได้อาจส่งผลต่อร่างกาย ระบบอื่นๆ ได้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และให้แพทย์การวินิจฉัยอาการ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของคุณให้ห่างไกลจากโรค เป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้
นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอหากมีความผิดปกติ ทางที่ดีควรพบแพทย์ เผื่อวางแผนสุขภาพ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic
เอกสารอ้างอิง
https://www.aryuwatnursinghome.com/healthy-tips/โรคไต-ภัยร้ายใกล้ตัว-ท/
https://www.sanook.com/health/7389/
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/บทความ-ดูแลไตให้ดี/ ผศ. นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล