เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โรคไฟลามทุ่ง โรคที่ไม่ควรวมองข้าม

โรคไฟลามทุ่ง โรคที่ไม่ควรวมองข้าม

เราทุกคนมีแบคทีเรียที่ผิวหนังด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งปนเปื้อนมาจากสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป จะมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับการรักษาความสะอาดของร่างกายในแต่ละบุคคล หากเราดูแลความสะอาดของร่างกายไม่ดี แบคทีเรียที่อยู่ตามผิวหนังก็พร้อมที่จะทำร้ายร่างกายของเราได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะโรคไฟลามทุ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง

ทั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของชั้นหนังแท้ และชนิดที่ 2 เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียลึกลงไปถึงชั้นไขมันใต้ผิวหนัง โรคไฟลามทุ่งมักจะพบในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้ป่วยที่ได้รับยากินสเตียรอยด์ ยากดภูมิ มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยเหล่านี้ โรคไฟลามทุ่งมักเป็นที่ขา โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาขาบวมน้ำเหลือง เคยผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ และเคยผ่าตัดเส้นเลือดดำที่ขา เพราะการไหลเวียนเลือด และน้ำเหลืองเสียไป แต่โรคไฟลามทุ่งก็มีโอกาสเป็นในผู้ที่มีสุขภาพปกติได้เช่นกัน โดยมักจะเป็นที่ใบหน้า จากสถิติจะพบในผู้ที่ประวัติทำหัตถการเสริมความงามที่ใบหน้า

วิธีการสังเกตอาการของ "โรคไฟลามทุ่ง"

หากผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นบวมแดง ปวดร้อน ตรงกลางผื่นอาจมีตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนอง บางรายอาจมีไข้ ปวดเมื่อยร่วมด้วย หากพบอาการเหล่านี้ สันนิษฐานทันทีว่าอาจจะเป็น”โรคไฟลามทุ่ง” ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

โรคผิวหนังชนิดนี้จำเป็นต้องรีบให้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ผู้ป่วยขณะรักษาตัวต้องนอนพัก ยกแขนขาหรือส่วนที่เป็นโรคให้สูง เจาะระบายหนองในรายที่มีหนอง ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือปลอดเชื้อ หากรักษาล่าช้าจะทำให้แบคทีเรียลุกลามเข้ากระแสเลือด อาจทำให้เสียชีวิตได้หรือรักษาแล้วอาจไม่หายขาด

ถ้าปล่อยทิ้งไว้ หรือได้รับการรักษาช้าเกินไป เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งหากพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ บางรายเชื้ออาจแพร่กระจายไปที่หัวใจ (กลายเป็นเยื่อบุหัวใจอักเสบ) หรือข้อ (กลายเป็นข้ออักเสบชนิดเป็นหนอง) ในเด็กอายุต่ำกว่า ๑๐ ปี อาจกลายเป็นหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (acute glomerulonephritis) มีอาการไข้สูง บวมทั้งตัว ปัสสาวะสีแดง คล้ายสีน้ำล้างเนื้อร้อยละ ๑๖-๓๐ ของผู้ป่วยโรคนี้ หลังจากรักษาหายแล้ว อาจกำเริบซ้ำได้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น เบาหวาน ผู้สูงอายุ) หรือมีความผิดปกติของท่อน้ำเหลืองถ้าเป็นซ้ำบ่อยๆ อาจทำให้ท่อน้ำเหลืองถูกทำลายถาวร เกิดอาการบวมของแขน หรือขาได้

วิธีการป้องกัน"โรคไฟลามทุ่ง"ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • อาบน้ำทำความสะอาดใบหน้า และร่างกายอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ถ้าร่างกายสกปรก เช่น เหงื่อออกมาก หมักหมม ลงแช่น้ำสกปรก ตากฝน ต้องรีบอาบน้ำทำความสะอาดทันที
  • ถ้าเท้ามีผื่น แผล เส้นเลือดขอด หรือเป็นเบาหวาน ต้องหมั่นตรวจดูเท้าทุกวัน
  • อย่าให้สัตว์เลี้ยงเลียที่ผิวหนัง ปาก ตา เพราะแบคทีเรียในน้ำลายสัตว์อาจผ่านเข้าไปติดเชื้อเป็นโรคไฟลามทุ่งได้
  • ทาครีมบำรุงผิวเป็นประจำเพื่อป้องกันผิวแห้ง และแตก
  • ไม่ควรเกาผิวหนังแรง ๆ รวมไปถึงขูด หรือแกะผิวหนังเมื่อเกิดแผล
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคผิวหนังเช่น โรคหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral Artery Disease: PAD) โรคน้ำกัดเท้า ผิวหนังอักเสบ โรคเบาหวาน ควรรักษาโรคให้หายขาด หรือควบคุมโรคอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
  • เมื่อเกิดความผิดปกติ หรือการติดเชื้อที่ผิวหนัง ควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาให้หายขาด และป้องกันเชื้อกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายจนเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

        ที่สำคัญหากรักษาล่าช้าจะทำให้แบคทีเรียลุกลามเข้ากระแสเลือด อาจทำให้เสียชีวิตหรือรักษาแล้ว อาจไม่หายขาด ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ ระมัดระวังอย่าให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนัง หรือถ้ามีแผลก็ต้องรีบทำความสะอาด และทายา, หากมีอาการคัน ไม่ควรเกาผิวหนังอย่างรุนแรง, ควรตัดเล็บให้สั้น และรักษาความสะอาดของเล็บอยู่เสมอ, หากพบว่าผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดงร้อน หรือมีลักษณะเป็นเส้นสีแดง หรือมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.thairath.co.th/news/local/1860976

https://www.komchadluek.net/news/474877#google_vignette

https://www.doctor.or.th/article/detail/15177