ไขมันในเลือดสูงเพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจ

ไขมันในเลือดสูงเพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจ

“ประเทศไทยมีประชากรที่ป่วยเป็น โรคหัวใจ และหลอดเลือดสูง ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบจำนวนผู้ป่วย 8.4 รายต่อประชากร 100 คน ซึ่งมี 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง” ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบ 3 ปัจจัยที่นำไปสู่โรคหัวใจ และหลอดเลือด ผลสำรวจ พบว่า คนไทยตื่นตัวกับ โรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง เพราะคนไทยได้ยิน และรู้จักเกี่ยวกับสองโรคนี้กันมานาน จึงกลัวว่าตนเองจะเป็น แต่เมื่อตรวจพบไขมันในเลือดสูงกลับไม่ค่อยกลัว

อาการของไขมันในเลือดสูง

ในระยะแรก คนส่วนมากมักไม่ทราบว่าตนเองมีระดับไขมันในเลือดสูง เพราะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่หากในร่างกายมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ต่อมาอาจเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนได้ลำบาก ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีความดันโลหิตสูงขึ้น นอกจากนี้ การสะสมของไขมันในหลอดเลือดอาจทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตันที่หัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด หรือหากเกิดขึ้นบริเวณสมองก็อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง

ไขมันสูงมาก และเป็นเวลานาน จะสามารถพบได้ 2 รูปแบบ คือ

  1. ไขมันสูงที่เกิดจากคราบไขมันแบบค่อยเป็นค่อยไป และค่อยๆ หนาขึ้น ค่อยๆ มีหินปูน รูเส้นเลือดหัวใจจากโล่งดีจะค่อยๆ ตีบแคบ จนเส้นผ่าศูนย์กลางหลอดเลือด ตีบแคบเกิน 80%  ก็จะเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก ขณะออกแรง เป็นๆ หายๆ ออกกำลังเจ็บ พักหาย กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่โชคดี เพราะมีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน และมักจะได้รับการตรวจ เมื่อพบแพทย์จะทำการรักษา ทั้งการเดินสายพาน ฉีดสี ทำบอลลูน ใส่ขดลวด ทำให้ไม่เสียชีวิตจาก Heart attack
  2. กลุ่มที่มีคราบไขมันมากขึ้น หนาขึ้น มีการอักเสบคราบไขมันแต่เส้นเลือดไม่ตีบ หรือตีบเล็กน้อย กลุ่มนี้อันตรายอย่างมาก  เพราะไม่มีอาการใดๆ ยังแข็งแรง ความฟิตสูง  เวลาวิ่ง ทำกิจกรรม ออกกำลังกายยังสามารถทำได้ปกติ  แต่เหมือนระเบิดเวลา หากออกกำลังมากกว่าที่เคย หรือไปเล่นกีฬาหนักๆ หลอดเลือดที่มีคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นใน ผสมพังผืดจับตัวเป็นแผ่นนูนหรือพลัค (Plaque) เยอะๆ หนาๆ เกิดการหลุด เราเรียกว่า Plaque rupture  ที่หลอดเลือด ร่างกายเข้าใจว่าเกิดแผล นำเอาเกร็ดเลือด ก้อนเลือดมาอุด เกิดเส้นเลือดอุดตัน 100%  นักวิ่ง นักกีฬาจะเกิด Heart attack  หัวใจขาดเลือดรุนแรง จนกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง นำไปสู่หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ถ้าได้รับการรักษา รวดเร็ว ก่อนหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ก็รอดชีวิต แต่เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้ว โอกาสเสียชีวิตสูง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

  • กรรมพันธุ์
  • การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ อย่าง การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก อาหารทอดที่อมน้ำมัน รับประทานอาหารทีมีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลมาก รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน
  • การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก และเป็นประจำ
  • โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไตบางชนิด
  • โรคตับ โรคไตบางชนิด
  • การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น
  • การตั้งครรภ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ภาวะขาดการออกกำลังกาย

การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะภาวะไขมันในเลือดสูงที่นำไปสู่โรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมถึงโอกาสในการรักษาที่ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี หมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย หากมีปัญหาสุขภาพควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1054532

https://www.ryt9.com/s/prg/3387282