“ไข้เลือดออก” อันตรายจากยุง

“ไข้เลือดออก” อันตรายจากยุง

เมื่อฝนตกจนเกิดน้ำขังตามบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนชื้น มักเป็นจุดเพาะพันธุ์ยุงลายที่ดี ซึ่งเป็นพาหะสำคัญของ “โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)” โรคร้ายที่หลายคนอาจมองข้าม และคิดว่าอาจหายเองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่แท้จริงแล้วโรคไข้เลือดออก สามารถอันตรายถึงชีวิตได้

สังเกตสัญญาณเตือนไข้เลือดออก (Dengue Fever)

  • มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง รวมถึงปวดบริเวณดวงตา กล้ามเนื้อ และข้อ
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • มีผื่นขึ้นตามร่างกาย

อาการรุนแรงของไข้เลือดออกที่ควรพบแพทย์

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • อาเจียนอย่างต่อเนื่อง และอาจมีเลือดปนออกมาจากอาเจียน หรืออุจจาระ
  • มีเลือดออกตามจมูก หรือเหงือก
  • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และกระหายน้ำมาก
  • หายใจเร็ว และผิวซีดเย็นอย่างผิดปกติ

หากมีอาการรุนแรงข้างต้นควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง เนื่องจากหากปล่อยอาการเหล่านี้ทิ้งไว้อาจส่งผลกระทบจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยผู้ป่วยควรรักษาร่างกายตัวเองโดยการพักผ่อน และดื่มน้ำให้มาก ๆ รวมถึงรับประทานยาแก้ปวด (acetaminophen, paracetamol) เพื่อบรรเทาอาการ

นอกจากนี้ ควรทำการป้องกันโรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) อย่างถูกต้อง โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันร่างกายจากการโดนยุงกัดด้วยเสื้อผ้า หรือมุ้ง ร่วมกับการใช้ยากันยุงเพื่อกำจัดยุงออกจากบริเวณที่อยู่อาศัยให้มากที่สุด ที่สำคัญคือไม่ควรละเลย และปล่อยให้ตัวเองโดนยุงกัด เพราะยิ่งโดนยุงกัดได้บ่อยเท่าไรก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไข้เลือดออก (Dangue Fever) มากขึ้นเท่านั้น

Reference