เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ไม่มีประวัติโรคหัวใจไม่ใช่ไม่เสี่ยง

ไม่มีประวัติโรคหัวใจไม่ใช่ไม่เสี่ยง

ปัจจุบัน ‘โรคหัวใจ’ เป็นโรคอันดับต้น ๆ ที่คร่าชีวิตของคนทั่วโลก มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเละมีเเนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งโรคหัวใจไม่ได้พบเฉพาะผู้สูงวัย เเต่สามารถพบได้ในช่วงอายุ 30-35 ปี  ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติตั้งเเต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมการกินที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสหวาน อาหารรสเค็ม หรือ บุคคลใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจก่อนวัยอันควร

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกคน ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติเลยก็ได้ ถ้าโรคหัวใจนั้นยังไม่รุนแรงหรือเพิ่งเป็นในระยะแรก ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
 –   เป็นโรคเบาหวาน
 –   เป็นโรคความดันโลหิตสูง
 –   มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
 –   สูบบุหรี่จัด
 –   มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
 –   หากมีอาการเตือนของโรคหัวใจ อาทิ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น หอบเหนื่อยผิดปกติเวลาออกแรง นอนราบแล้วหายใจไม่สะดวก ฯลฯ

อาการที่คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหัวใจ โดยแท้จริงแล้วอาจไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้ เช่น อาการเหงื่อออกปลายมือ ปลายเท้า ซึ่งหากไม่พบอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วยมักไม่ใช่โรคหัวใจ อาจเป็นภาวะปกติที่เกิดในคนทั่วไปได้ อาการเจ็บแปล๊บหน้าอกขึ้นมา คนไข้อาจจะรู้สึกว่ามีอาการกดเจ็บบริเวณหน้าอก หรือเมื่อหายใจเข้าลึกๆ แล้วเจ็บหน้าอก อาการเช่นนี้ไม่ใช่อาการของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ อาจจะเป็นอาการของกล้ามเนื้อทรวงอก หรือกล้ามเนื้อซี่โครงผิดปกติ หรืออาจจะเป็นอาการของเยื่อหุ้มปอดผิดปกติ ซึ่งต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้วินิจฉัยผลได้เที่ยงตรง

เหตุผลที่ทำให้ 'ภาวะหัวใจล้มเหลว' ถูกพบได้ในคนไข้ที่มีอายุน้อยเพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องมาจาก
  • ‘พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คนในปัจจุบัน’ ที่หันมานิยมบริโภคอาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ดส์เยอะขึ้น
  • นิยมบริโภคอาหารที่มีรสหวาน บริโภคน้ำตาลเยอะขึ้น รวมไปถึงบริโภคอาหารรสจัด รสเค็มที่มีเกลือ มีโซเดียมสูง
  • ล้วนแต่เป็นปัจจัยนำไปสู่โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้ง่ายขึ้น ซึ่งโรคทั้ง 2 นี้ถือว่าเป็นพิษต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้ง่าย และเร็วขึ้นกว่าเดิมแม้จะยังมีอายุน้อยอยู่
  • พฤติกรรมที่ขาดการออกกำลังกาย ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวเร่งโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน
  • ทานอาหารไม่เหมาะสม จนทำให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน ก็จะเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคในกลุ่ม Non-communicable Disease หรือ NCDs ซึ่งก็คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฯลฯ ซึ่งเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นพิษต่อหลอดเลือด จนเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุดนั่นเอง

สำหรับการรักษาโรคหัวใจที่ดีที่สุดคือ การป้องกันก่อนการเกิดโรค โดยการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ การควบคุมอาหาร ไม่รับประทานรสจัดหรือมันจนเกินไป ทำอารมณ์ให้แจ่มใส อยู่ในสภาวะแวดล้อมอากาศที่ดี ร่วมกับหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ  เพียงเท่านี้ก็ทำให้เราห่างไกล “โรคหัวใจ” ได้

นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic