- ให้การรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
- คนไข้ต้องการทราบว่าตนเองแพ้อะไร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างถูกต้อง
- คนไข้ที่จำเป็นต้องรักษาโดยวิธีการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ จึงต้องทราบก่อนว่าแพ้อะไร
อันตราย และภาวะแทรกซ้อน
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่ได้มีอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่เป็นโรคประจำตัว รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการ เพื่อให้คนไข้ไม่มีอาการ และสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ หากควบคุมอาการภูมิแพ้ไม่ดี หรือปล่อยให้มีอาการเรื้อรังโดยไม่รักษา อาจพบภาวะผิดปกติอื่นในระบบทางเดินหายใจร่วมด้วยได้ เช่น ต่อมอะดีนอยด์โต นอนกรน หูชั้นกลางอักเสบ หอบหืด
การรักษา มีทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้
1. การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ โดยมีวิธีการดังนี้
1.1 พยายามเลือกใช้พรม ผ้าปูที่นอนที่ไม่กักเก็บไรฝุ่น ควรเปลี่ยนผ้าปูที่นอนทุกสัปดาห์ และควรทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน 50-60 องศาเซลเซียส
1.2 ทำความสะอาดบ้านทุกวัน เพื่อป้องกันไรฝุ่น
1.3 หากเป็นคนแพ้ขนสัตว์ ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ภายในบ้าน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรแบ่งบริเวณให้ชัดเจน
1.4 ป้องกันไม่ให้มีแมลงสาบในบ้าน โดยฉีดยาป้องกัน และไม่ทิ้งเศษอาหารไว้ข้ามคืน
1.5 ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ แต่สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจได้ เช่น สารเคมี กลิ่นฉุน อากาศที่เย็นหรือร้อนเกินไป ควันบุหรี่ ควันรถ ฝุ่น PM 2.5 เนื่องจากคนไข้ในกลุ่มนี้มักจะมีความไวต่อสารเหล่านี้มากกว่าคนปกติ
2. การใช้ยา แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้
2.1 ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน
2.2 ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก
การรักษาด้วยการใช้ยา จะพิจารณารักษาตามระยะเวลาที่มีอาการ และความรุนแรงของโรค โดยถ้าเป็นไม่บ่อย และอาการไม่รุนแรงคือไม่ได้มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การนอน การเรียน การทำงาน อาจจะพิจารณาให้ใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานเป็นครั้งคราวได้ ในกรณีที่คนไข้มีอาการบ่อย ๆ 4 วันต่อสัปดาห์ และเกิน 4 สัปดาห์ขึ้นไป หรือมีอาการปานกลางถึงรุนแรง คือมีการรบกวนชีวิตประจำวัน มักควบคุมอาการโดยการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูกเป็นหลัก ซึ่งมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูง มีผลข้างเคียงต่ำ จึงสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว ในปัจจุบันมียาสเตียรอยด์พ่นจมูกที่มีส่วนประกอบของยาแก้แพ้ร่วมด้วย มีข้อดีคือออกฤทธิ์เร็ว เเต่มีข้อเสียคือมีรสชาติขม ซึ่งสามารถเลือกใช้ยาดังกล่าวในคนไข้กลุ่มนี้ได้ด้วย
3. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้
กรณีที่ให้การรักษาโดยการใช้ยา แล้วไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือในกลุ่มคนไข้ที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ หรือกลุ่มคนไข้ที่มีโอกาสเป็นหอบหืดได้ ก็จะทำการรักษาโดยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ ซึ่งจะสามารถปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่น้อยลง ทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น มีอาการภูมิแพ้ลดลง หรือลดการใช้ยาลงได้ แต่การรักษาด้วยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ จะใช้เวลาค่อนข้างนานและจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 3-5 ปี ปัจจุบันมีการใช้วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้นในคนไข้ที่แพ้ไรฝุ่น มีข้อดีคือคนไข้สามารถบริหารยาเองที่บ้านได้ไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ข้อเสียคือยังมีราคาที่เเพงกว่าวิธีการฉีด
การดูแลตนเอง
คนไข้โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เเละสิ่งกระตุ้นที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่เครียด เพราะอาจทำให้มีอาการภูมิแพ้กำเริบขึ้นได้ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดังนั้น เราควรสำรวจร่างกายของตัวเราเองอย่างเป็นประจำ ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่หากเรารู้สาเหตุของการแพ้อย่างชัดเจน และพยายามหลีกเลี่ยง การทดสอบในโรคภูมิแพ้เป็นการทดสอบที่ทำให้เรารู้ถึงสิ่งที่เราแพ้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เราสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นทั้งจากการตั้งใจ หรือจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามารถป้องกันตัวเองให้ห่างจากความเสี่ยงที่เกิดจากการแพ้ได้ ส่งผลให้อาการแพ้ดีขึ้นกว่าการรับประทานยาเพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ หากต้องการเข้ารับการทดสอบว่าตนเองมีอาการแพ้ต่อสิ่งกระตุ้นใดๆ หรือไม่ แนะนำว่าควรเข้ารับการทดสอบในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีแพทย์เฉพาะทางสามามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic สนับสนุนให้มีการเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ หรือการตรวจสุขภาพถือเป็นการประเมินร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมีโรคร้ายตามมา การป้องกัน หรือการหาตัวช่วยเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงย่อมทำให้คุณห่างไกลจากโรคร้าย ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic ได้เลยค่ะ
เอกสารอ้างอิง
https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2753114
แหล่งข้อมูล
ผศ. พญ.กังสดาล ตันจรารักษ์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล