ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อกันได้อย่างไร ?
- เกิดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก โดยส่วนมากพบการติดเชื้อในขณะคลอดบ่อยที่สุด
- เกิดการติดเชื่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีที่จะทำให้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะง่ายกว่าการติดเชื้อไวรัส HIV
- เกิดการติดเชื้อทางเลือด ซึ่งอาจเป็นการใช้ของมีคมที่มีการเปื้อนเลือด มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การสักตามร่างกาย หรือแม้แต่การเจาะหูที่ไม่สะอาด
นอกจากนั้น ยังไม่มีการค้นพบโอกาสที่จะติดเชื้อได้จากช่องทางอื่น อาทิ การรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการงานร่วมกันในลักษณะปกติที่เอื้อโอกาสให้มีการติดต่อของเชื้อได้
อาการของไวรัสตับอักเสบบี
กว่า 90% ของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีจะหายขาดจากอาการที่เป็นได้ภายใน 10 สัปดาห์ จากนั้นการทำงานของตับก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมีภูมิคุ้มกันโรคนี้ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการตรวจ ถึงแม้จะมีการทำงานของตับที่เป็นปกติ แต่ยังสามารถพบเชื้อ HbAg+ ได้ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคไวรัสตับอักเสบบีแล้ว แต่ก็ยังสามารถนำเชื้อไปติดต่อให้กับผู้อื่นได้อีก เรียกว่า พาหะ (Carrier)
จำนวนผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายขาดจากโรคนี้ได้เองมีอยู่ 5 – 10% อาการที่พบ คือ ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้เมื่อเจาะเลือดก็จะพบการทำงานที่ผิดปกติของตับเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และมีการตรวจพบเชื้ออยู่ตลอด ซึ่งก็จะมีอาการอักเสบอยู่เป็นระยะ ในบางรายก็มีอาการตับแข็งและบางรายถึงขั้นเป็นมะเร็งตับ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเองเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและเป็นพาหะของโรคนี้รึเปล่า
หากตัวเราเองนั้นยังไม่เคยมีอาการใดๆ ที่บ่งบอกมาก่อน เราสามารถไปพบแพทย์เพื่อขอเจาะเลือดตรวจ ซึ่งแพทย์จะตรวจการทำงานของตับ และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีด้วย ถ้าผู้ป่วยมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และมีภาวะตับอักเสบ น่าจะเป็นอาการของตับอักเสบเรื้อรัง แต่ถ้าอยากให้เกิดความมั่นใจ แพทย์จะทำการนัดให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจเลือดอีกครั้งเมื่อครบ 6 เดือน หากยังพบเชื้อและยังมีภาวะตับอักเสบอยู่ นั่นแสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคตับเรื้อรังจากไวรัสชนิดบี แต่หากเจาะเลือดแล้วมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่พบภาวะตับอักเสบ เราอาจจะเป็นแค่พาหะของโรคนี้ ส่วนอีก 6 เดือนถัดมา เมื่อเจาะเลือดแล้วยังพบเชื้อเหมือนเดิม แต่ไม่พบภาวะตับอักเสบ ก็แสดงว่าผู้ป่วยเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี
ผู้ป่วยที่มีอาการเป็นดีซ่าน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่จากการตรวจและเจาะเลือด
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ที่จะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ต้องตรวจเลือดก่อนว่าเคยได้รับเชื้อหรือไม่ เพราะผู้ที่เคยได้รับเชื้อและหายขาด จะทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสู้โรคนี้ไปตลอดชีวิต หรือหากใครที่เป็นพาหะแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีก เพราะจะไม่สามารถช่วยทำให้เชื้อหมดไปจากร่างกายได้ โดยการตรวจเลือดจะตรวจกันอยู่ 3 อย่าง
- ตรวจ HBs Ag หรือตรวจการติดเชื้อ หรือเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HBs Ab หรือ anti HBs
- ตรวจภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสตับอักเสบบี หรือเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ได้แก่ HBc Ab หรือ anti HBcซึ่ง ถ้าพบตัวใดตัวหนึ่งเป็นบวก (Positive) ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่หากเป็นลบ (Negative) ทั้งหมด ก็สามารถฉีดวัคซีนได้
ไวรัสตับอักเสบบี เป็นหนึ่งเชื้อติดต่อยอดนิยม ถ้าหากได้ติดแล้วหายขาดยาก อีกทั้งผู้ที่ติดโรคตับอักเสบบีนี้มักไม่แสดงอาการ หลายๆ คนจึงมองข้ามที่จะดูแลตัวเองและไม่ไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ ทั้งๆ ที่เราเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันจากโรคร้ายนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อสงสัยปัญหาสุขภาพสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic