เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ดูแลข้อเข่าก่อนเสื่อมสภาพ

ดูแลข้อเข่าก่อนเสื่อมสภาพ

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ และกระดูกบริเวณใกล้ข้อมีการสึกหรอ และเสื่อมลงตามอายุ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ  เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกจึงมีการชนกันขณะรับน้ำหนัก จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด โดยจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หัวเข่าก็จะผิดรูป และไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

สาเหตุของการปวดเข่า

  1. 1. การบาดเจ็บหรือมีอุบัติเหตุต่อข้อเข่า พบได้บ่อยมาก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อหรือข้อบวมทันทีภายหลังจากมีอุบัติเหตุ อาจพบรอยช้ำบริเวณข้อได้
  2. โรคข้อเข่าเสื่อม พบได้มากในเพศหญิงวัยกลางคนและสูงอายุ อาการปวดจะเป็น ๆ หาย ๆ มาเป็นเวลานาน และมีความสัมพันธ์กับการใช้ข้อ
  3. กระดูกอ่อนของกระดูกสะบ้าเสื่อม เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กหรือหนุ่มสาว อาจพบร่วมกับการออกกำลังกายอย่างรุนแรงหรือมีอุบัติเหตุต่อข้อเข่า เป็นเหตุให้กระดูกสะบ้าเสื่อมก่อนวัย
  4. กระดูกสะบ้าเคลื่อน พบได้ในคนอายุน้อย จะมีการเคลื่อนของกระดูกสะบ้าเมื่อมีการงอข้อเข่า อาจเป็นผลจากการเสื่อมหรือฉีกขาดของเอ็นยึดกระดูกสะบ้า หรือกระดูกผิวข้อต้นขาตื้นกว่าปกติ
  5. ปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ พบได้บ่อยในเด็กวัยรุ่นที่มีการเจริญเติบโตอย่างมาก และมีการออกกำลังกายอย่างรุนแรง ทำให้มีการอักเสบของเอ็นที่ยึดติดกับปุ่มกระดูกหน้าแข้ง
  6. ถุงน้ำรอบข้อเข่าอักเสบ พบได้บ่อยในผู้หญิงอ้วน หรือผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงาน
  7. อาการปวดเข่าภายหลังข้อเข่าอักเสบ มักพบในรายที่มีข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง เมื่อได้รับการรักษาจนหายแล้วก็ตาม ผลจากการอักเสบของข้อจะทำให้มีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมตามมาได้
  8. ข้อเข่าอักเสบ ในกรณีที่มีข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าจะมีอาการบวมและร้อนร่วมด้วย การเคลื่อนไหวของข้อเข่าจะทำได้ไม่เต็มที่

การดูแลข้อเข่า

  1. การออกกำลังกาย
  2. การรักษาน้ำหนักตัว
  3. การใช้รองเท้าที่เหมาะสม
  4. การหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป
  5. การรักษาและการปรึกษาแพทย์

โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด และสามารถพบร่วมกับโรคข้ออักเสบอื่นได้ ผู้ที่สงสัยเป็นโรคข้อเสื่อมควรได้รับการประเมินจากแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และคงการทำงานของข้อ ในปัจจุบันยังมีการรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมหลากหลายวิธี การรักษาขึ้นอยู่กับคนไข้ และอาการของไข้ควรให้แพทย์ประเมินเพื่อรักษาอาการร่วมกัน

หากคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ควรมองข้ามหากมีความเสี่ยง อาจส่งผลต่อร่างกาย ระบบอื่นๆ ได้  ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และให้แพทย์การวินิจฉัยอาการ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของคุณให้ห่างไกลจากโรค นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic  

Reference

https://www.thaihealth.or.th

https://www.thairheumatology.org/index.php?view=article&id=28:1-16&catid=13

https://thairheumatology.org/index.php/learning-center/for-people/for-people-3?view=article&id=17:1-5&catid=12