เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ใช้ความเย็นแบบไหนถึงเหมาะกับอาการที่เป็น

ใช้ความเย็นแบบไหนถึงเหมาะกับอาการที่เป็น

การใช้ความเย็นในการรักษาอาการต่าง ๆ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ และการกีฬา เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยโดยมีหลักการทำงานและประโยชน์หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. การประคบเย็น (Cold Pack)

เป็นวิธีการบำบัดที่ใช้ความเย็นจากแพ็คน้ำแข็ง หรือเจลเย็นมาประคบบนพื้นที่ที่ต้องการบำบัด เช่น บริเวณที่บาดเจ็บ อักเสบ หรือปวด วิธีนี้มีประโยชน์ในการลดการบวม ลดอาการปวด และลดการอักเสบเฉียบพลัน โดยการประคบเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction) ซึ่งช่วยลดการไหลเวียนของเลือดและของเหลวที่บวมอยู่ได้

2. การแช่ในถังน้ำแข็ง (Ice Bath)

เป็นวิธีการบำบัดที่ใช้การแช่ทั้งร่างกายหรือบางส่วนของร่างกายในน้ำเย็นที่ผสมกับน้ำแข็ง โดยทั่วไปน้ำจะมีอุณหภูมิประมาณ 10˚C ถึง 15˚C วิธีนี้นิยมใช้ในนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดการบวม และลดอาการปวดที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนัก

3. การบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy)

เป็นวิธีการบำบัดที่ใช้ความเย็นจัดอุณหภูมิติดลบสูงสุด -160 ˚C จากก๊าซไนโตรเจนในการลดอาการปวด ลดการอักเสบ และฟื้นฟูร่างกาย โดยการบำบัดด้วยความเย็น Cryotherapy มีสองรูปแบบหลักคือ Whole Body Cryotherapy (WBC) การบำบัดความเย็นทั้งตัว และ Localized Cryotherapy การบำบัดความเย็นเฉพาะจุด

 

การประคบเย็น

(Cold Pack)

การแช่ในถังน้ำแข็ง

(Ice Bath)

การบำบัดด้วยความเย็น

(Cryotherapy)

อุณหภูมิ

ประมาณ 0˚C ถึง 10˚C

ประมาณ 10˚C ถึง 15˚C

-100˚C ถึง -160˚C

ระยะเวลา

15-20 นาที

10-20 นาที

3 นาที

การใช้งาน

การบรรเทาอาการปวดในบริเวณเฉพาะที่

ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ

หลังการออกกำลังกาย

ลดอาการปวดเรื้อรัง

และการฟื้นฟูทั้งร่างกาย

ความถี่

สามารถทำซ้ำได้หลายครั้งต่อวัน โดยเว้นระยะห่างระหว่างการประคบแต่ละครั้งประมาณ 1-2 ชั่วโมง

1-2 ครั้ง/วัน ขึ้นอยู่กับความต้องการและคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

สามารถทำได้หลายครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับอาการ

ข้อดี

  • สะดวกใช้งานง่าย
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ลดการอักเสบและอาการบวมได้ดี
  • ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกาย
  • ลดการอักเสบเรื้อรัง
  • เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • กระตุ้นการสลายไขมัน
  • ใช้เวลาไม่นาน

ข้อเสีย

  • ทำได้ผลเฉพาะที่
  • การทำความเย็นอาจไม่ทั่วถึง
  • ต้องใช้เวลานานกว่า
  • ผิวต้องสัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง
  • มีความยุ่งยากในการเตรียมตัวและการใช้อุปกรณ์มากกว่า
  • อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคหัวใจหรือมีปัญหาสุขภาพบางประเภท
 

การประคบเย็น

(Cold Pack)

การแช่ในถังน้ำแข็ง

(Ice Bath)

การบำบัดด้วยความเย็น

(Cryotherapy)

อาการบาดเจ็บเฉียบพลัน

ในช่วง 48 ชั่วโมงแรก

อาการปวดเรื้อรัง

และการฟื้นฟูในระยะยาว

ฟื้นฟูหลังการเล่นกีฬา

หรือการออกกำลังกายหนัก

ใช้เวลาไม่นาน

เพิ่มประสิทธิภาพการสลายไขมัน

ลดความเครียด

ช่วยรักษาโรคทางการแพทย์

 

Relate Article