เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

จริงหรือไม่ที่การนอนน้อยทำให้น้ำหนักขึ้น ?

จริงหรือไม่ที่การนอนน้อยทำให้น้ำหนักขึ้น ?

มีปัจจัยมากมายที่ทำให้คนเราน้ำหนักขึ้นเมื่อเราขาดการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ สาเหตุหนึ่งคือ เมื่อเรานอนน้อย ร่างกายคนเราจะผลิตคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียด เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อคอร์ติซอลสูงขึ้น ความรู้สึกอยากรับประทานก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย โดยปกติ เมื่อคนเรารู้สึกอ่อนเพลีย และมีความอยากอาหาร เราจะตัดสินใจหาอาหารรับประทานที่ทำง่ายๆ และเร็วที่สุดมารับประทาน ซึ่งอาจหมายถึง การต้มบะหมี่สำเร็จรูป การทำแซนด์วิช หรือคว้าถุงมันฝรั่งทอดมารับประทานให้หายอยาก ไม่มีทางที่เราจะขยันทำเมนูสุขภาพยามค่ำคืนที่ยุ่งยากมารับประทานอย่างแน่นอน

การตัดสินใจผิดในการเลือกอาหารรับประทานยามค่ำคืน

เกิดจากปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อความเครียดแบบไม่รู้ตัว เมื่อคุณรับประทานอาหารที่มีไขมัน และมีคาร์โบไฮเดรตสูง มันจะยิ่งทำให้เกิดการสร้างโฮโมนเซโรโทนิน (Serotonin) ที่กระตุ้นความอยาก ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกเอ็นจอย และอยากอาหารมากขึ้น

การนอนน้อยยังส่งผลกระทบต่อการผลิตอินซูลินในร่างกาย ซึ่งทำให้คุณสุ่มเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน เพราะเมื่อเรานอนน้อย ร่างกายจะควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ส่งผลต่อการสร้างไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) หรือแหล่งพลังงานของเซลล์ซึ่งเป็นตัวปกป้องน้ำตาลที่จะเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อพักผ่อนน้อย ร่างกายผลิตอินซูลินน้อยลง น้ำตาลก็เพิ่มขึ้น น้ำหนักก็ขึ้นตามไปด้วย

นอนดึกตื่นเช้าเป็นประจำล่ะก็ อาจทำให้คุณมีโอกาสที่จะอ้วนง่ายกว่าคนอื่นๆ

  • นอนน้อย ร่างกายเผาผลาญพลังงานน้อย
  • นอนน้อย ทำให้กินมากขึ้น
  • นอนน้อย ทำให้อยากทานแป้ง และน้ำตาลมากขึ้น
  • นอนน้อย ร่างกายสะสมไขมันมากกว่าเดิม
  • นอนน้อย ทำให้มีเวลาทานอาหารมากขึ้น

การนอนหลับยังส่งผลกระทบกับฮอร์โมนอีก 2 ตัวในร่างกายของเรา นั่นคือ เล็ปติน (Leptin) และเกรลิน (Ghrelin) ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ควบคุมเมื่อเรามีอาการอยากอาหาร และเมื่อเรามีอาการอิ่ม หากคุณรับประทานอาหารไม่เพียงพอ เล็ปตินจะส่งผลให้สมองรับรู้ว่าเรายังไม่อิ่ม ในขณะที่การนอนหลับไม่เพียงพอ กระตุ้นสมองให้ผลิตฮอร์โมนเกรลินออกมา ทำให้เรารู้สึกมีความอยากรับประทานในตอนดึก ด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไม คนทำงานดึก คนนอนน้อย หรือคนนอนไม่หลับจึงอ้วน และน้ำหนักขึ้น นั่นก็เพราะฮอร์โมนในร่างกายสั่งการสมองให้เรามีความอยากรับประทานในตอนดึก ในเวลาที่เราควรนอนหลับพักผ่อน แต่กลับเอาอะไรมารับประทานกลางดึกนั่นเอง

ทางเลี่ยงปัญหาคือการบังคับตัวเองให้ตื่น และนอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา ทานอาหารให้ตรงเวลา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก็จะมีสุขภาพ ที่แข็งแรง ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินได้ การเสริมให้ร่างกายนอนพักผ่อนได้ดีขึ้นในปัจจุบันมีตัวช่วยเสริมอื่นๆ มากมายทั้งวิตามิน และเทคโนโลยีที่จะช่วยปรับสมดุลร่างกายของคุณให้อยู่ในภาวะที่ปกติ สามารถเลือกที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ หากสงสัย หรือเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ หรือมีความกังวลเรื่องสุขภาพสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.central.co.th/e-shopping/does-lack-of-sleep-cause-weight-gain-central-inspirer-has-an-answer

https://www.sanook.com/health/6801/