เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ปรับพฤติกรรมเลี่ยง “ความดันโลหิตสูง”

ปรับพฤติกรรมเลี่ยง “ความดันโลหิตสูง”

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคในกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) ที่มียอดผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ จึงมีผู้ป่วยหลายล้านรายที่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้จนเข้าระยะรุนแรง เกิดภาวะแทรกซ้อนโดยไม่ได้รักษา

แนวทางการเลี่ยง “ความดันโลหิตสูง”

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด หรือมีปริมาณโซเดียมสูง
  • รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชในปริมาณที่เหมาะสม
  • เลือกรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ
  • ลด หรือเลิกสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พยายามจัดการความเครียด และผ่อนคลายจิตใจ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้สมดุล
  • ตรวจวัดความดันโลหิตทุก ๆ ปีเพื่อค้นหาความเสี่ยง

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “ความดันโลหิตสูง”?

โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) โดยส่วนใหญ่ รวมถึงโรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มโรคที่มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อไม่ได้รักษาในระยะเวลานานอาจมีอาการดังนี้

  • ปวด และวิงเวียนศีรษะ
  • ใจสั่น หน้ามืด และอาจเป็นลม หรือหมดสติ
  • สายตาพร่ามัว

แนวทางการตรวจพบโรคนอกเหนือจากการสังเกตตัวเอง คือการหมั่นตรวจ และรักษาสุขภาพเป็นประจำเพื่อหลีกเลี่ยงโรคในกลุ่มเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) และโรคความดันโลหิตสูง โดย V Precision Clinic พร้อมวางแผนฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย NCDs และป้องกันโรคให้กับผู้ที่มีร่างกายปกติทุกท่าน

Reference

สภากาชาดไทย. (31 สิงหาคม 2565). การป้องกันไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง.

https://redcross.or.th/news/information/17944/

autchariya. (26 พฤษภาคม 2566). แนะวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ‘รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ’.

Thaihealth. https://www.thaihealth.or.th/?p=337160