Clinomania โรคเสพติดการนอน

Clinomania โรคเสพติดการนอน

Clinomania นั้นสามารถแยกออกได้เป็นสองคำ คือ CLINO แปลว่า BED หรือที่นอน และ MANIA แปลว่า ADDICT หรือการเสพติด จึงแปลได้ตรงตัวว่า อาการเสพติดที่นอนหรือการนอน การเสพติดการนอน หรือเป็นอาการที่ไม่อยากลุกออกจากเตียง เป็นภาวะร้ายแรงที่ปริมาณการนอนหลับไม่เพียงพอ สิ่งนี้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้เสียสุขภาพ คนที่มีอาการนี้มักจะทุกข์ทรมานจากความรู้สึกที่ว่า จำเป็นจะต้องลุกไปต่อสู้กับความรับผิดชอบของตนในโลกภายนอกที่รออยู่ ทั้งๆ ที่เหนื่อยล้า และรู้สึกไม่อยากทำ สิ่งนี้อาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาส่วนบุคคลในมิติอื่นๆ ได้ Clinomania จัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับโรควิตกกังวลอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเกี่ยวข้องกับสารที่มีชื่อว่าโดปามีน สารที่ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึก เมื่อมีอาการจะทำให้รู้สึกอยากอยู่แต่บนเตียงนอน

Clinomania อาการเริ่มต้นของซึมเศร้า

Clinomania เป็นโรคทางจิตวิทยา เชื่อมโยงกับโรควิตกกังวล และความผิดปกติของความวิตกกังวลอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้าและโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง คนที่มีอาการ Clinomania มักจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะหลบหนีจากความรับผิดชอบส่วนตัว เพียงเพื่ออยากจะเลื่อนปัญหาให้ห่างออกไปอีกสักหน่อย พวกเขาจะรู้สึกว่าการนอนหลับช่วยให้คลายกังวลลงได้

Clinomania ไม่ใช่คนขี้เกียจ

สำหรับคนทั่วไปอาจจะอยากนอนหลับเพิ่มขึ้นอีกชั่วโมง หรือสองชั่วโมงเมื่อรู้สึกว่าเราขี้เกียจ หรือเบื่อ นั่นเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเสพติดการนอน Clinomania ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความเกียจคร้าน หรืออ่อนเพลีย แต่มันเป็นความผิดปกติในระดับพื้นฐานทางจิตวิทยา

อาการโดยทั่วไป

  1. ง่วงนอนตลอดเวลา และสามารถนอนหลับได้ในทุกที่ทุกเวลา
  2. ไม่อยากลุกจากเตียงเพื่อไปทำกิจกรรมต่าง ๆ
  3. ไม่มีความรู้สึกใด ๆ ไม่ยินดียินร้ายกับเรื่องใด ๆ คือ อยากนอนอย่างเดียว
  4. สามารถนอนหลับได้ในทุก ๆ ที่ที่อยู่
  5. ทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียง ไม่ว่าจะกิน ดูทีวี เล่นมือถือ

ซึ่งจากอาการดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถ ทำกิจกรรมใด ๆ ได้เลย เพราะในใจจะนึกถึงแต่การนอน และ การนอนทั้งวันนี้ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจต่าง ๆ รวมถึงโรคต่าง ๆ ก็จะตามมา เช่น

  1. โรคโลหิตจางเพราะร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ทั้งวัน เฉื่อยชา ความคิดความอ่านก็จะช้าลงตามไปด้วย
  2. โรคเบาหวานเพราะระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ทำให้อ่อนเพลีย และ ง่วงนอนบ่อย เพราะการนอนไม่เป็นเวลา หลับ ๆ ตื่น ๆ วิตกกังวล สารเคมีในสมองจึงแปรปรวนตามได้วย และอาจส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้
  3. โรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับภาวะการกรน มาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดการกรน และ หยุดหายใจขณะที่กำลังหลับ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับสุขภาพในระยะยาว
  4. โรคลมหลับเป็นโรคที่มีลักษณะง่วงนอนมากเกินปกติ จะหลับในตอนกลางวัน ทำให้กลไกลการนอนผิดปกติ การหลับก็จะผิดปกติตามไปด้วย

 

แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรตัดสินใจเองว่าตัวเองเป็น หรือไม่เป็นโรคนี้ แต่ถ้าสงสัยควรไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการประเมินการตรวจสุขภาพประจำปีจะได้ทราบถึงภาวะภายในร่างกายว่าเราควรเพิ่มเติมส่วนที่ขาด เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี และจะได้ตัวช่วยเสริมเพื่อเพิ่มพลังให้กับร่างกายต่อสู้กับโรคภัยได้อีกทางหนึ่ง V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://women.trueid.net/detail/j3AdK7pyK9ND

https://www.sanook.com/health/28313/

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/1368429

Relate Article