“Food Coma” คืออะไร

“Food Coma” คืออะไร

Food Coma หรือ Postprandial somnolence เป็นอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนแบบที่อยากจะหลับเสียให้ได้ อาการนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่เรากินอาหารมื้อกลางวันอิ่ม  เกิดจากการที่ร่างกายถูกกระตุ้นเมื่อทานอาหารมากเกินไป โดยอาหารมื้อนั้นประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต จำพวกแป้งและน้ำตาล โปรตีน และไขมัน เมื่อผ่านระบบการย่อยอาหารแล้ว ร่างกายจะกลั่นกรองน้ำตาล หรือกลูโคส ที่สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือด นำไปใช้เป็นพลังงานในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งมาจากอาหารที่เราทานเข้าไปเช่นเดียวกัน เรียกว่า ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งสารนี้จะเข้าสู่สมอง และระบบประสาท ทำให้ลดความตึงเครียด และทำให้เราเกิดอาการง่วงนอนได้ความจริงแล้ว อาการนี้ไม่ได้มีอันตรายอะไรต่อสุขภาพร่างกาย เพียงแต่สร้างความรำคาญ ทำให้ไม่มีสมาธิ และลดประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยเหตุนี้ อาการนี้จึงอันตรายต่อหน้าที่การงานมากกว่า หากคุณเกิดไปสัปหงกขณะนั่งทำงาน หรือหมดเรี่ยวแรงหนังตาจะปิดตอนที่เข้าประชุม

จะหลีกเลี่ยงอาการ “Food Coma” ยังไงดี?

1. เลือกเมนูอาหารกลางวันแบบง่าย ๆ

ลองปรับพฤติกรรมการกิน โดยเลือกกิน “อาหารที่ย่อยง่าย” เช่น ข้าวต้ม แกงจืดกับข้าวสวย ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส แทนการกินอาหารที่ย่อยยาก เพราะระบบไหลเวียนเลือดจะได้ไม่ต้องแบ่งเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารมากเกินไป

2. ปรับสัดส่วนอาหารให้พอดี

ในแต่ละมื้อ ควรจัดสัดส่วนของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายเช่น เนื้อสัตว์ และข้าวอย่างละ 1 ส่วน และไขมันดีประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ทั้งนี้ถ้าจะให้ดีควรเพิ่มผักลงไปด้วย และอย่าลืมกินผลไม้

3. ขยับร่างกายหลังมื้อเที่ยง

รู้ไหมว่าขณะที่นั่งกินอาหาร เราจะหายใจช้าลง ทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกาย ลองแบ่งเวลามาเดินย่อยหลังกินอิ่ม สัก 10 นาทีก่อนกลับโต๊ะทำงาน จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่าพร้อมทำงานมากขึ้นด้วย

4. นอนหลับให้เพียงพอ

การนอนก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการ Food Coma เช่นกัน ถ้าเรานอนหลับในเวลากลางคืนไม่เพียงพอ จะยิ่งทำให้รู้สึกง่วงหลังมื้อเที่ยงได้ ทางที่ดีเราจึงควรนอนหลับให้ได้ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

กินอาหารแต่ละมื้อให้พอดีกับความต้องการต้องร่างกายไม่มากหรือน้อยเกินไป ลดอาหารจำพวกแป้งย่อยยาก เช่น อาหารชุบแป้งทอด เส้นพาสต้า ก๋วยเตี๋ยว และขนมปังขัดสี แล้วหันมากินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างข้าวซ้อมมือ, ขนมปังโฮลวีท, ธัญพืช, เมล็ดถั่ว, ซึ่งมีกากใยสูง, ทานผัก เช่น ถั่วลันเตา, ผักกาด, กะหล่ำปลี, สาหร่าย, เห็ด, แตงกวา, หัวหอม, มะเขือเทศ, แครอท, ฟักทอง ที่ให้พลังงานแก่ร่างกายในระยะยาว แถมเส้นใยอาหาร จะเป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ขึ้นสูงมาก และลงต่ำมาก

เปลี่ยนจากขนม ของหวาน และเครื่องดื่มเติมน้ำตาลทั้งหลาย เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวแทน นอกจากนี้ ระหว่างทานอาหาร อย่ารีบเคี้ยวแล้วกลืน ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อลดการใช้พลังงานการย่อยในกระเพาะอาหาร และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพียงแค่นี้ ก็สามารถช่วยแก้อาการ “ง่วงหลังกินข้าว” Food Coma ได้ และสามารถทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น เราควรสำรวจร่างกายของตัวเราเองอย่างเป็นประจำ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ถ้าหากมีอาการง่วงหลังรับประทานอาหารบ่อยๆ ไม่ดีแน่ อาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ อาจต้องลองตรวจสุขภาพ เพื่อหาต้นเหตุของอาการและโรค หากมีความกังวล หรือสงสัยในปัญหาสุขภาพสามามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic สนับสนุนให้มีการเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ หรือการตรวจสุขภาพถือเป็นการประเมินร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมีโรคร้ายตามมา การป้องกัน หรือการหาตัวช่วยเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงย่อมทำให้คุณห่างไกลจากโรคร้าย ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic ได้เลยค่ะ

เอกสารอ้างอิง

https://www.sanook.com/health/25863/

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/health/550796

https://careers.scb.co.th/th/life-at-scb/detail/career-clinic-food-coma/