มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของมะเร็งที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตในประเทศ ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยมักตรวจพบเจอในระยะที่ลุกลามแล้ว ซึ่งยากต่อการรักษา สาเหตุหลักที่ทำให้มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทยมาจากการขาดการตรวจคัดกรองเป็นประจำ รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ไฟเบอร์ต่ำ และวิถีชีวิตที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
มะเร็งลำไส้ใหญ่คืออะไร ?
มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นเนื้องอกที่ลุกลามและแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้ มะเร็งลำไส้ใหญ่มักเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในเยื่อบุของลำไส้ใหญ่ที่เริ่มจากการก่อตัวของ โพลิป (Polyp) ซึ่งเป็นก้อนเนื้องอกขนาดเล็กที่ไม่ร้ายแรงในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการตรวจพบและรักษาอาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- พฤติกรรมการบริโภคอาหารรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำ
- พฤติกรรมการการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย
- ปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ใครบ้างควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ผู้ที่รับประทานอาหารแปรรูปเป็นประจำ
- ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์
- ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน
อาการเตือนที่ไม่ควรมองข้าม
มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ซึ่งทำให้การตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่ม อย่างไรก็ตาม เมื่อมะเร็งลำไส้ใหญ่เริ่มพัฒนาและลุกลาม อาจแสดงอาการเตือน ดังนี้
- มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย เช่น อาการท้องผูกหรือมีเลือดออกในอุจจาระ
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการปวดท้องหรือท้องอืด ไม่สบายในท้อง
การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
- รับประทานโปรตีนจากพืชหรือเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
- รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน และอาหารกระป๋อง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
- งดการสูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์
- ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นประจำ
โปรแกรม Colon Cancer Screening
เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่แบบใหม่โดยตรวจจากอุจจาระ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ผู้ตรวจไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร ดมยาสลบ หรือทานยาระงับประสาท เป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำร่างกาย สะดวก ปลอดภัยโดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจำกัดในการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่
ข้อดีของการตรวจโปรแกรม Colon Cancer Screening
- สะดวกและรวดเร็ว
- ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
- เป็นวิธีการตรวจที่ไม่รุกล้ำร่างกาย
- มีความแม่นยำสูงสามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นแม้ยังไม่มีอาการ
ข้อแนะนำในการตรวจโปรแกรม Colon Cancer Screening
- งดเก็บอุจจาระ หากมีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ
- ห้ามเก็บอุจจาระช่วงเป็นประจำเดือน
- ห้ามปัสสาวะลงในตัวอย่างอุจจาระที่จะเก็บส่งตรวจ
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี การป้องกันสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ลดการบริโภคไขมันและอาหารแปรรูป ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม งดสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจพบมะเร็งในระยะแรก ซึ่งสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ