ระบบประสาท และ สมองเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย เพราะ มีหน้าที่ในการควบคุมและประสานงานระหว่างอวัยวะต่างๆ ทำให้เราสามารถคิด, รู้สึก, ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น และ ดำเนินการในสิ่งที่ซับซ้อนได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการรักษาความสมดุลของร่างกาย ประมวลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัส และควบคุมกิจกรรมทางจิตใจ เช่น ความทรงจำ, อารมณ์, และความคิดสร้างสรรค์
ทำไมการดูแล และฟื้นฟูระบบประสาท และสมองถึงสำคัญ
- สมองและระบบประสาทควบคุมการทำงานของทุกส่วนในร่างกาย การดูแลที่ดีช่วยรักษาฟังก์ชันเหล่านี้ให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม
- การฟื้นฟูหลังได้รับบาดเจ็บ อาการบาดเจ็บหรือการผ่าตัดสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทได้ การฟื้นฟูช่วยให้ร่างกายกลับมาทำงานได้ดีเหมือนเดิมหรือดีขึ้น
- ระบบประสาทมีความเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพตามอายุหรือโรค เช่น อัลไซเมอร์ การดูแลอย่างต่อเนื่องช่วยชะลอหรือป้องกันไม่ให้เกิดการเสื่อม
- สมองและระบบประสาทที่แข็งแรงเป็นพื้นฐานสำหรับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นอิสระ ทั้งในด้านจิตใจและร่างกาย
- ระบบประสาทที่สุขภาพดีช่วยให้สามารถเรียนรู้และปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
“Brain Peptide” เป็นวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง และฟื้นฟูภาวะที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โดยใช้วิธีการให้วิตามินผ่านทางหลอดเลือดโดยตรง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายนำสารอาหารที่ได้ไปใช้เพื่อฟื้นฟูจากภาวะต่าง ๆ ซึ่งนำมาสู่การเห็นผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด สมอง เป็นอวัยวะที่ควรให้ความสำคัญในการดูแล ก่อนจะเกิดปัญหาจนสายเกินแก้ ซึ่งสารอาหารที่สามารถช่วยเสริมการทำงานของสมอง เพื่อลดอัตราการเกิดโรคได้ คือวิตามินต่าง ๆ เช่น โอเมก้า 3, วิตามิน E, วิตามิน B และวิตามิน C ซึ่งสามารถพบได้จากปลา ธัญพืช ผักใบเขียว มะเขือเทศ หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น
สาหตุของโรคระบบประสาทและสมอง
- พันธุกรรม
- อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น
- โรคประจำตัวเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง
- การประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง
- พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่
อาการของผู้ที่ประสบภาวะทางสมอง และเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์
- ประสิทธิภาพการคิด วิเคราะห์ลดลง เช่น ตัดสินใจช้า มีปัญหาด้านการสื่อสาร
- มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือซึมเศร้า
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย หงุดหงิด
- ไม่มีสมาธิ และหลีกตัวออกจากสิ่งที่เคยชอบ
- หลงลืม หรือสับสนเรื่องในชีวิตประจำวันเป็นประจำ หากเป็นอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง ผู้ป่วยอาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน
โปรแกรม Brain Peptide วิตามินบำรุงสมองเหมาะกับใคร?
- ผู้ที่ขาดวิตามิน B12 โดยเฉพาะผู้ที่ทานวีแกน และมังสวิรัติ
- ผู้ที่มีความสามารถด้านความจำ หรือสมาธิถดถอยลง
- ผู้ที่ประสบปัญหาภาวะทางสมอง เช่น อัลไซเมอร์ ซึมเศร้า
- ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองสูง เช่น เพื่อการเรียน หรือการทำงาน
- ผู้ที่มีปัญหาด้านความเครียด ต้องการปรับสมดุลอารมณ์
ประโยชน์จากโปรแกรม Brain Peptide วิตามินบำรุงสมอง
- ปกป้องเซลล์สมองจากความเครียดของปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
- ต่อต้านการอักเสบ และป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นในสมอง
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
- ช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ และความจำ
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสมอง
*ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม การรับวิตามินบำรุงสมองเข้าสู่ร่างกายผ่านทางหลอดเลือด เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ขาดวิตามิน และมีอาการข้างต้น โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานอาหารวีแกน และมังสวิรัติ เนื่องจากวิตามิน B12 ที่จำเป็นต่อร่างกาย และสมอง มีในเนื้อสัตว์ และปลาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องการเสริมสร้างการทำงานของสมอง เพื่อให้สมองปลอดโปร่ง รู้สึกสดชื่น สามารถคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และมีความจำดีขึ้น การบำรุงสมองด้วย Brain Peptide วิตามินสูตรบำรุงสมองที่ V Precision Clinic ใช้เวลาการให้วิตามินเข้าสู่หลอดเลือดประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง โดยอยู่ภายใต้การควบคุม และการวิเคราะห์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประสิทธิภาพการบำบัดที่เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ลงทะเบียนรับคำปรึกษา
Reference
Jayne Leonard. (16 August 2023). What to know about peptides for health. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/326701#side-effects
Jurairat N. (10 ตุลาคม 2561). 12 อันตรายต่อสุขภาพจากการขาด “วิตามินบี 12”. Sanook. https://www.sanook.com/health/13101/
pommypom. (12 กรกฎาคม 2565). 4 อาหารมีเปปไทด์ ซ่อมแซมร่างกาย ลดอาการขาดกรดอะมิโน ลดเสี่ยง โรค. TrueID. https://women.trueid.net/detail/QA4dJW4RdDKA