Epigenetic

การตรวจอายุทางชีวภาพ

การตรวจอายุทางชีวภาพด้วย “Epigenetic” เป็นการตรวจสอบสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากยีนส์ที่เป็นกลไกในการกำหนดกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต รวมถึงการควบคุมกิจกรรม และการแสดงออกของยีน โดยการเปลี่ยนแปลงทาง Epigenetic เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับ DNA ที่ช่วยควบคุมเปิด หรือปิดของยีน ซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคร้ายแรงในร่างกาย โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากอิทธิพลที่หลากหลาย เช่น อาหารที่เรารับประทาน, รูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถส่งต่อผ่านพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานได้

หลักการทำงานของ Epigenetic

การตรวจสอบ Epigenetic สามารถทำได้โดยการทดสอบผ่านตัวอย่างเลือดของผู้ทำการทดสอบ โดยเน้นการทดสอบไปที่ DNA Methylation ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของ Epigenetic ที่ส่งผลต่อการแสดงออกของยีน และกระทบกับสุขภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงของโรค หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการมุ่งเน้นตรวจสอบที่ลำดับของ DNA เพียงอย่างเดียว

ทำไมการตรวจสอบ Epigenetic จึงมีความสำคัญ?

การตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของ Epigenetic เป็นการตรวจสอบที่เหนือกว่าการทดสอบ DNA เนื่องจากสามารถทำให้ทราบได้ว่าเซลล์ภายในร่างกายควบคุมการทำงานของยีนอย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลมาจากวีถีชีวิต สภาพแวดล้อม รวมถึงอาหารที่เรารับประทาน

นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้เราทราบได้ว่าอายุทางชีวภาพของเราสูง หรือต่ำเพียงใด และบอกการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการย้อนอายุชีวภาพให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการชะลอความแก่ และเสื่อมของร่างกาย

สามารถตรวจสอบอะไรจาก Epigenetic ได้บ้าง?

  • อายุทางชีวภาพ (Biological Age) เป็นอายุที่ต่างจากอายุตามปีเกิด โดยเป็นการวัดจากอวัยวะ และกระบวนการภายในร่างกายของเราว่ามีประสิทธิภาพการทำงานมากน้อยเพียงใด หากอายุทางชีวภาพมีจำนวนที่น้อยกว่าอายุตามปีเกิดสามารถบ่งบอกถึงวิถีชีวิต และสุขภาพที่ดีได้
  • Dunedin Pace เป็นอัตราความแก่ชราทางชีวภาพต่อปีของเรา หากมีอัตราที่ต่ำกว่า 1 ต่อ 1 ปี จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย
  • อายุภูมิคุ้มกัน (Immune Age) สามารถทำให้เราทราบว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรามีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด หากอายุภูมิคุ้มกันสูงเกินไปอาจบ่งบอกได้ว่าร่างกายเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย
  • ความยาวของเทโลเมียร์ (Telomere) เป็นการวัดความแก่ชราของเซลล์ ซึ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ เทโลเมียร์ที่สั้นผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของการเกิดมะเร็งอีกด้วย
  • Mitotic Clock หรือค่าการหมุนเวียนของเซลล์ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงการทำงานในการทดแทนเซลล์ที่เสียหาย หรือเสื่อมสภาพในร่างกายของเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) เพราะฉะนั้น Mitotic Clock ที่สูงมากกว่าปกติจึงบ่งชี้ถึงการสูญเสียศักยภาพของสเต็มเซลล์
  • การตอบสนองต่อการจำกัดแคลอรี (Caloric Restriction) เป็นการระบุการตอบสนองต่อการลดน้ำหนักส่วนบุคคลต่อการจำกัดแคลอรี ซึ่งมีส่วนช่วยสำคัญในการลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  • ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการวัดด้วย Epigenetic เป็นค่าที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอื่น เช่น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม, วิถีการใช้ชีวิต ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงของโรคเบาหวานทั้งสิ้น

ความแตกต่างระหว่างการตรวจยีน และ Epigenetic

การตรวจยีน (Gene Test)การตรวจ Epigenetic
เป็นการตรวจรหัสพันธุกรรม (DNA)เป็นการตรวจสอบปัจจัยที่อยู่นอกเหนือจากรหัสพันธุกรรม ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของยีน
บอกความบกพร่อง และความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยอิงตามลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฎบอกข้อมูลเชิงลึกว่าปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น วิถีชีวิต อาหาร ส่งผลต่อการแสดงออกของยีน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างไร
ทำให้ทราบว่าร่างกายของเราเสี่ยงต่อการเกิดโรคใดบ้างผ่านทางการกลายพันธุ์ของยีนทำให้ทราบความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ผ่านการทดสอบแบบเจาะลึกภายในร่างกาย รวมถึงทราบวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือทางเลือกป้องกันโรคเหล่านั้นอย่างเหมาะสมที่สุด

การตรวจ Epigenetic เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกับสภาพร่างกายของตนเองให้มากขึ้น
  • ผู้ที่ต้องการทราบอายุทางชีวภาพของตนเอง เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพอย่างเหมาะสม
  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ผู้ที่ต้องการทราบความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังของตนเอง เช่น เบาหวาน
  • ผู้ที่ต้องการปรับวิถีชีวิตเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพดีขึ้น
  • ผู้ที่ต้องการทราบความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สามารถส่งต่อไปยังลูกหลานได้
  • ผู้ที่ต้องการประเมิณการบำบัดร่างกายด้วยสเต็มเซลล์

ข้อดีในการตรวจ Epigenetic

  • มีความสะดวก รวดเร็ว ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน
  • สามารถตรวจซ้ำได้สำหรับผู้ที่ต้องการติดตามผลลัพธ์ของร่างกายตนเอง
  • ได้ผลลัพธ์เกี่ยวกับสุขภาพเชิงลึกที่มีความแม่นยำ
  • ทราบความเสี่ยงโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถปรับวิถีชีวิตเพื่อขจัดความเสี่ยงได้อย่างเท่าทัน

ข้อจำกัดในการตรวจ Epigenetic

การทดสอบ Epigenetic เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวก และทำให้ทราบถึงความแก่ชราของอายุชีวภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และแม่นยำมากที่สุด

ประโยชน์ของการตรวจ Epigenetic

  • อายุชีวภาพ อายุและสุขภาพเซลล์ เปรียบเทียบกับอายุจริง ดูร่องรอยแห่งวัยนับแต่อดีตจนปัจจุบัน
  • อัตราเร่งของอายุ อัตราที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความเสี่ยงต่อการเป็นโรคและเสียชีวิต
  • อายุระบบภูมิคุ้มกัน ดูความสามารถของเซลล์ภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นได้จากโรคเรื้อรัง
  • ตรวจความยาวของเทโลเมียร์ซึ่งแม่นยำกว่าวิธีดั้งเดิมถึงสองเท่า ซึ่งความยาวของเทโลเมียร์มีความสัมพันธ์กับโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ และโรคอื่นๆ อันสืบเนื่องมาจากความชรา
  • ตรวจศักยภาพของสเต็มเซลล์ในการซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งเสต็มเซลล์ที่เหนื่อยล้าเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดความชราทางชีวภาพ
  • ตรวจศักยภาพการควบคุมอาหารเพื่อการลดน้ำหนักส่วนเกิน ซึ่งช่วยออกแบบวิธีการลดน้ำหนักเฉพาะบุคคลได้
  • ตรวจความเสี่ยงการเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ตรวจก่อนเป็นโรค เพื่อดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ห่างไกลโรค

ระยะเวลาในการตรวจ Epigenetic

ผู้เข้ารับบริการทำการทดสอบผ่านการเก็บตัวอย่างหยดเลือดแห้ง และรอผลตรวจประมาณ 4 สัปดาห์ เพื่อเข้ารับคำแนะนำการดูแลสุขภาพจากแพทย์ ในส่วนของผู้ที่ต้องการติดตามผลลัพธ์สามารถตรวจซ้ำอีกครั้งใน 6 เดือน เพื่อผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำมากที่สุด

การตรวจสุขภาพเชิงลึกด้วย Epigenetic เป็นวิธีการที่สามารถทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ รวมถึงความแก่ชราทางอายุชีวภาพที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงทำให้สามารถทราบได้ว่าควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต หรือสภาพแวดล้อมอย่างไรให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และห่างไกลจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของ V Precision Clinic พร้อมให้คำปรึกษา และคำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงวิธีการเสริมสร้างสุขภาพที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้เข้ารับบริการทุกท่าน

Reference

ผู้คน และครอบครัว. (มิถุนายน 2560). อาหารค่ำของคุณยาย. Nestle.

https://www.nestle.co.th/th/stories/epigenetics-research-food-affect-health

MedlinePlus Trusted Health Information for You. (n.d.). What is epigenetics?.

https://medlineplus.gov/genetics/understanding/howgeneswork/epigenome/#:~:text=Epigenetic%20changes%20are%20modifications%20to,sequence%20of%20DNA%20building%20blocks.

Welala. (n.d.). MyTruHealth – Epigenetics Solution.

https://welala.co/product/mytruhealth-epigenetics-solution/

โปรแกรมอื่นๆ