โปรแกรมตรวจ ระดับค่า TMAO

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

TMAO หรือ Trimethylamine N-Oxide เป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นหลังจากร่างกายเผาผลาญอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีคาร์นิทีน (Carnitine) และโคลีน (Choline) ซึ่งมักพบในเนื้อแดง ไข่แดง เป็นต้น เมื่อรับประทานอาหารเหล่านี้เข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนคาร์นิทีนและโคลีนเป็น Trimethylamine หรือ TMA จากนั้น TMA จะถูกเปลี่ยนเป็น Trimethylamine N-Oxide หรือ TMAO ในตับ ซึ่งหากค่าระดับ TMAO ในร่างกายสูงอาจเกิดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ระดับค่า TMAO

ระดับค่า TMAO คือปริมาณของสาร Trimethylamine N-Oxide (TMAO) ที่พบในเลือดสามารถบ่งบอกถึงสภาวะการทำงานของร่างกายที่มีผลต่อการสะสมไขมันในหลอดเลือด ซึ่งระดับค่า TMAO วัดเป็นหน่วยไมโครโมลต่อลิตร (µmol/L) ค่านี้ใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากระดับ TMAO ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน

  • ค่าระดับ TMAO ต่ำ

ค่าระดับ TMAO ต่ำกว่า 6 µmol/L แสดงถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือค่อนข้างต่ำ

  • ค่าระดับ TMAO ปานกลาง

ค่าระดับ TMAO อยู่ระหว่าง 6-10 µmol/L อยู่ในช่วงที่มีความเสี่ยงปานกลาง ซึ่งควรเฝ้าระวังและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ลดการบริโภคเนื้อแดงและอาหารที่มีโคลีนและคาร์นิทีนสูง เพื่อควบคุมระดับ TMAO ในเลือด

  • ค่าระดับ TMAO สูง

ค่าระดับ TMAO สูงกว่า 10 µmol/L ขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งในกรณีนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และอาจต้องพิจารณาใช้ยาในการรักษาหรือป้องกันภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดค่า TMAO สูง

  • บริโภคอาหารประเภทเนื้อแดง ไข่แดง และอาหารทะเล เป็นประจำ
  • บริโภคอาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง
  • บริโภคอาหารที่มีเส้นใยน้อย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • การทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ
  • มีพฤติกรรมรับประทานอาหารแบบเร่งรีบ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

TMAO สูงเสี่ยงเกิดโรคอะไรบ้าง

  • ภาวะไขมันในเลือดสูง TMAO สามารถทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะ LDL การสะสมของ LDL ทำให้เกิดคราบไขมันในหลอดเลือดและนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว
  • โรคที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจวาย และ ภาวะอักเสบเรื้อรังในหลอดเลือด เป็นต้น
  • โรคเบาหวาน การเพิ่มขึ้นของ TMAO ทำให้การเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดภาวะต้านอินซูลิน

ใครบ้างที่ควรตรวจวัดค่าระดับ TMAO

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือหลอดเลือด
  • ผู้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดและหัวใจมาก่อน
  • ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเบาหวาน
  • ผู้ที่รับประทานเนื้อแดงหรือไข่แดงในปริมาณมากเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีความเครียดสะสม
  • ผู้ที่นอนไม่เพียงพอ

ประโยชน์ของการรู้ระดับค่า TMAO

  • ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การตรวจระดับ TMAO ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้
  • วางแผนป้องกันโรค หากพบว่าค่าระดับ TMAO สูง แพทย์สามารถแนะนำแนวทางในการป้องกันโรค เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารเสริมบางชนิด เช่น วิตามิน D และโพไบโอติกที่ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้
  • เฝ้าระวังสุขภาพ การตรวจระดับ TMAO เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต

วิธีลดระดับค่า TMAO

  • ลดการบริโภคเนื้อแดง อาหารทะเล และไข่แดง
  • รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด
  • ลดการบริโภคไขมันและคอเลสเตอรอล
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารเสริมที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี, วิตามินอี และเรสเวอราทรอล (Resveratrol)

          TMAO (Trimethylamine N-Oxide) เป็นสารประกอบที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่มีโคลีนและคาร์นิทีน ซึ่งพบในเนื้อแดง ไข่แดง และอาหารทะเล เมื่อระดับ TMAO ในร่างกายสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคหัวใจล้มเหลว รวมถึง โรคเบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูงด้วย การตรวจระดับ TMAO ในเลือดช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้สามารถวางแผนในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงในอนาคต

โปรแกรมอื่นๆ