เนื้อร้ายเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด ข้อมูลสถิติประเทศไทย ในปี 2565 ระบุว่าในแต่ละปีไทยจะมีผู้ป่วยเนื้อร้ายรายใหม่กว่า 140,000 คน หรือ ประมาณ 400 คนต่อวัน และเสียชีวิตวันละ 221 คน หรือ 80,665 คนต่อปี
- โรคเนื้อร้ายที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่บริเวณ ตับและท่อน้ำดี ปอด นม ลำไส้ใหญ่/ทวารหนัก และปากมดลูก
- เนื้อร้ายที่พบบ่อย 5 อันดับแรกในเพศชาย คือบริเวณ ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ตับและท่อน้ำดี ปอด ต่อมลูกหมาก และต่อมน้ำเหลือง
- เนื้อร้ายที่พบบ่อย 5 อันดับแรกในเพศหญิง คือบริเวณ เต้านม ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ปอด ตับและท่อน้ำดี
"ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ใช่ว่าจะไม่เกิดเนื้อร้าย อย่าปล่อยให้สายเกินไปจนโรคแสดงอาการ
ที่ V Precision ช่วยให้คุณรู้ความเสี่ยงก่อนเกิดเนื้อร้ายได้ ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันได้"
ใครบ้างที่ควรระวังเป็นเนื้อร้าย?
- ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง: การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเนื้อร้าย: การมีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป: ความเสี่ยงในการเกิดเนื้อร้ายเพิ่มขึ้นตามอายุ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือภูมิคุ้มกันต่ำ: ร่างกายที่อ่อนแอทำให้มีโอกาสเป็นเนื้อร้ายมากขึ้น
- ผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ: การสัมผัสสารเคมีหรือมลพิษต่าง ๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้อร้าย
“เนื้อร้าย” เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่ไม่มีใครอยากเป็น เนื่องจากสามารถแพร่กระจาย ลุกลามได้รวดเร็ว และมีอัตราผู้เสียชีวิตสูง แต่หากตรวจพบได้ในระยะแรก ๆ โดยเฉพาะในระยะ 0 จะสามารถส่งเสริมการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โอกาสหายจากโรคเนื้อร้ายก็มีมากขึ้น หากตรวจพบในระยะลุกลามมักทำให้โอกาสในการรักษาหายขาดลดลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ผู้ป่วยเนื้อร้ายต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากการรักษา เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่ทำให้สุขภาพทรุดโทรมและอ่อนแอลง ดังนั้นการเลือกหนทางในการตรวจคัดกรองเนื้อร้ายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดเนื้อร้าย และเพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาดจากโรคร้ายนี้
"แน่ใจแล้วหรือยังว่ารู้จักร่างกายของคุณดี เนื้อร้ายเป็นเซลล์ผิดปกติที่ไม่ควรละเลย
การตรวจคัดกรองเนื้อร้ายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสในการรักษาหายได้"
- โปรแกรมตรวจคัดกรองเนื้อร้าย
เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี และตรวจเฉพาะจุดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อร้าย เช่น
- เพศชาย ตรวจเนื้อร้ายบริเวณ ลำไส้ ต่อมลูกหมาก ตับอ่อนและท่อน้ำดี
- เพศหญิง ตรวจเนื้อร้ายบริเวณ ลำไส้ รังไข่ เต้านม ตับอ่อนและท่อน้ำดี
- โปรแกรมตรวจดูภูมิต้านทานในการกำจัดเนื้อร้าย (NK Test)
เป็นการตรวจประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cells ในร่างกาย ว่ามีคุณสมบัติเพียงพอในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่อันตรายอย่างเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส และเนื้อร้ายได้หรือไม่ เนื่องจากเซลล์ภายในร่างกายของมนุษย์เราเกิดการแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา และกระบวนการเหล่านั้นก็ทำให้เกิดเซลล์ที่ผิดปกติอย่าง “เซลล์เนื้อร้าย” ขึ้นมา ดังนั้น ร่างกายจึงต้องทำการตรวจจับ และทำลายเซลล์ร้ายดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เติบโตกลายเป็นเนื้องอก หรือเนื้อร้ายที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการทำลายเซลล์เนื้อร้าย คือ NK Cells
หลักการทำงานของ NK Test
การตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cells สามารถทำได้โดยการใช้ตัวอย่างเลือดของผู้เข้ารับบริการประมาณ 1 มิลลิลิตรในการทดสอบ ซึ่งจะมุ่งเน้นการตรวจไปที่ประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อไวรัส และเซลล์เนื้อร้ายในร่างกายของ NK Cells เนื่องจากถึงแม้ว่า NK Cells ในร่างกายจะมีจำนวนเยอะ แต่บางส่วนอาจหยุดทำงาน หรือทำงานผิดปกติจนไม่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นได้
- โปรแกรมตรวจหาเซลล์เนื้อร้ายในระยะแรกเริ่ม (CTC Test)
CTC หรือ Circulating Tumor Cell Blood Test เป็นหนึ่งในรูปแบบการตรวจเนื้อร้าย เพื่อหาเซลล์เนื้อร้ายชนิดต่าง ๆ กว่า 10 ชนิดที่อยู่ในกระแสเลือด โดยการตรวจด้วยรูปแบบนี้เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังสามารถตรวจพบเนื้อร้ายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นซึ่งเป็นส่วนช่วยสำคัญในการรักษาโรคชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงไปได้มาก นอกจากนี้ CTC Test ยังสามารถใช้ในการตรวจวัดวิวัฒนาการของเซลล์เนื้อร้ายว่ามีการแพร่กระจายภายในร่างกายของผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด เพื่อติดตามผลการรักษาเนื้อร้ายอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการทำงานของ CTC Test
การตรวจคัดกรองเนื้อร้ายด้วยรูปแบบ Circulating Tumor Cell Blood Test เป็นการเจาะเลือด เพื่อนำส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน